ผลของในการใช้บัตรแนะนำการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการเจาะคอใส่ท่อหลอดลมคอต่อความพึงพอใจของผู้ดูแล คุณภาพชีวิต และการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเด็ก

ผู้แต่ง

  • Satanee Ngamsanga -

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเด็ก, ท่อหลอดลมคอ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้บัตรคำแนะนำการดูแลแผลเจาะคอ ต่อความพึงพอใจของผู้ดูแล คุณภาพชีวิต และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเด็กที่มีท่อหลอดลมคอ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลักผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการเจาะคอใส่ท่อหลอดลมคอ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กทางด้านร่างกาย 2) แบบประเมินาวะแทรกซ้อนและ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ เก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ช่วงคือก่อนทดลอง, 1 สัปดาห์ และ1 เดือนตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Friedman test, Bonferroni correction for multiple test, Chi-square test และ Paired t-test ตามลำดับ

ผลการศึกษาพบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทั้ง 3 ช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.001) โดยมีคะแนนคุณภาพชีวิตก่อนทดลองใช้บัตรคำแนะนำการดูแลแผลเจาะคอ หลังใช้ 1 สัปดาห์ และ 1 เดือนตามลำดับ ดังนี้ 15.63, 18.75 และ 21.88 คะแนน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.001) พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงก่อนการทดลองว่ามีท่อหลอดลมคอเคลื่อนหลุด (Tube dislodgement) จำนวน 1 รายแต่หลังการทดลองไม่พบอีก พบภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยก่อนทดลอง, 1 สัปดาห์ และ 1 เดือนตามลำดับดังนี้ ร้อยละ 69.2, 61.5 และ 0.0 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001) เมื่อประเมินโดยแบบสอบถามผู้ดูแลหลังใช้บัตรคำแนะนำทุกรายเห็นตรงกันว่าสามารถใช้บัตรคำแนะนำต่อเนื่องได้

สรุปผลการศึกษาพบว่า บัตรคำแนะนำสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อหลอดลมคอ เพิ่มความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และใช้ระยะยาวได้

References

Amar-Dolan, L.G., Horn, M/H/, O'Connell, B., Parsons, S.K., Roussin, C.J., Weinstock, P.H. & Graham, R.J. (2020). "This Is How Hard It Is". Family Experience of Hospital-to-Home Transition with a Tracheostomy. Annals of the American Thoracic Society. 17(7), 860-868.

Berry, J.G., MPH, M.D., Graham, D.A., Graham, R.J., Zhou, J., Putney, … Goldman, D.A. (2009). Predictors of Clinical Outcomes and Hospital Resource Use of Children After Tracheotomy. Pediatrics. 124(2), 563-572.

Chandran, A., Sikka, K., Thakar, A., Lodha, R., Irugu, D.V., Kumar, R., & Sharma, S.C. (2021). The impact of pediatric tracheostomy on the quality of life of caregivers. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology. 149, 110854.

Friesen, T.L., Zamora, S.M., Rahmanian, R., Bundogji, N., & Brigger, M.T., (2020). Predictors of Pediatric Tracheostomy Outcomes in the United States. Otolaryngol Head Neck Surg. 163(3), 591-599.

Funamura, J.L., Yuen, S., Kawai, K., Gergin, O., Adil, E., Rahbar, R., & Watters, K. (2017). Characterizing mortality in pediatric tracheostomy patients. Laryngoscope. 127(7), 1701-1706.

Mitchell, R.B., Hussey, H.M., Setzen, G., Jacobs, I.N., Nussenbaum, B., Dawson, C., … Merati, A. (2013). Clinical consensus statement: tracheostomy care. Otolaryngol Head Neck Surg. 148(1), 6-20.

Rocha, G., Soares, P., Gonçalves, A., Silva, A.I., Almeida, D., Figueiredo, S., … Guimarães, H. (2018). Respiratory Care for the Ventilated Neonate. Canadian Respiratory Journal. 13, 7472964.

Sanders, C.D., Guimbellot, J.S., Muhlebach, M.S., Lin, F.C., Gilligan, P., & Esther, C.R. (2018). Tracheostomy in children: Epidemiology and clinical outcomes. Pediatric Pulmonology, 53(9), 1269-1275.

Sritipsukho, P., Wisai, M., Thavorncharoensap, M. (2013). Reliability and validity of the Thai version of the Pediatric Quality of Life Inventory 4.0. Quality of Life Research. 22(3), 551-557.

Tsuboi, N., Ide, K., Nishimura, N., Nakagawa, S., Morimoto, N. (2016). Pediatric tracheostomy: Survival and long-term outcomes. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology. 89, 81-85.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-12

How to Cite

Ngamsanga, S. (2023). ผลของในการใช้บัตรแนะนำการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการเจาะคอใส่ท่อหลอดลมคอต่อความพึงพอใจของผู้ดูแล คุณภาพชีวิต และการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเด็ก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 15(3). สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/258301