ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านออนไลน์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด - 19 ในนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่

ผู้แต่ง

  • ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อุมาภรณ์ กั้วสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ถิรนันท์ ทิพย์ชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เลอลักษณ์ แทนเกษม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันโรคโควิด - 19, โปรแกรมออนไลน์, นิสิตพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่ลงทะเบียนและฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาล ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 137 คน เครื่องมือวิจัย ผ่านการประเมินความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) คู่มือ และสื่อ 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด - 19 และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด - 19 มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหาระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.71 – 0.96 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.76 และ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (t = - 9.060 , p < 0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด - 19 ของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรม (t = -3.740 ,p < 0.001)

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า โปรแกรม ฯ สามารถส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด - 19 ได้จริง เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์ และมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมไปใช้ในการเตรียมความพร้อมนิสิตก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลและขยายผลไปยังนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นที่ต้องฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วย เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด - 19 ที่เหมาะสม

References

Abdoh, E. (2022). Online health information seeking and digital health literacy among information and learning resources undergraduate students. The Journal of Academic Librarianship. 48(6), https://doi.org/10.1016/j.acalib.2022.102603

Alsolais, A., Alquwez, N., Alotaibi, K. A., Alqarni, A. S., Almalki, M., Alsolami, F., Almazan, J., & Cruz, J. P. (2021). Risk perceptions, fear, depression, anxiety, stress and coping among Saudi nursing students during the COVID-19 pandemic. Journal of Mental Health, 30(2), 194 - 201. https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/09638237.2021.1922636

Bradshaw, C., Murphy Tighe S., & Doody, O. (2018). Midwifery students’ experiences of their clinical internship: A qualitative descriptive study. Nurse Education Today. 68, 213 – 227. http://doi.org/10.1016/j.nedt.2018.06.019

Casafont, C., Fabrellas, N., Rivera, P., Olivé-Ferrer, M. C., Querol, E., Venturas, M., Prats, J., Cuzco, C., Frias, C., Perez-Ortega, S., & Zabalegui, A. (2021). Experiences of nursing students as healthcare aid during the COVID - 19 pandemic in Spain: A phemonenological research study, Nurse Education Today, 104711, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov /33418340/

Chahardh - Cherik, S., Gheibizadeh, M., Jahani, S., & Cheraghian, B. (2018). The relationship between Health literacy and health promoting behaviors in patients with type 2 diabetes. International Journal of Community based Nursing and Midwifery, 6(1), 65 - 75. https://www.ncbi.nlm. nih.gov/pmc/articles/PMC5747574/

Chaisuwan, C., Witoonsakul, P., & Nookong, A. (2022). Effectiveness of online health literacy program for COVID-19 prevention among teachers in childcare centers: A Quasi-experimental Study. Pacific Rim International Journal Nursing Resesrch, 26(2), 254 – 268. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/256513

Chew, N.W.S., Lee, G.K.H., Tan, B.Y.Q., Jing, M., Goh, Y., Ngiam, N.J.H., Yeo, L.L.L., Ahmad, A., Khan, F.A., Shanmugam, G. N., Sharma, A.K., Komalkumar, R.N., Meenakshi, P.V., Shah, K., Patel, B., Chan, B.P.L., Sunny, S., Chandra, B., Ong, J.J.Y., … Sharma, V.K. (2020). A multinational, multicentre study on the psychological outcomes and associated physical symptoms amongst healthcare workers during COVID-19 outbreak. Brain Behavior and Immunity, 88, 559 - 565. http://doi.org/10.1016/j.bbi.2020.04.049

Chitty, K. K., & Black, B. P. (2007). Professional nursing: Concepts and challenges (5th ed.). Elsevier.

Choeisuwan, V. (2020, September 20). Review health literacy healthcare setting. http://dop.hpc.go.th/ bs/displayArticle.php?id=1

Choojai, R., Boonsiri, C., & Patcheep, K. (2021). Effects of a health literacy enhancement program for COVID-19 prevention on health literacy and prevention behavior of COVID-19 among village health volunteers in Don Tako Sub-district, Mueang District, The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(1), 250 - 262. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/245346

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14