ประสิทธิผลการนึ่งหน้าท้องของนักศึกษาคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

พนิดา กมุทชาติ

ผู้แต่ง

  • พนิดา กมุทชาติ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุพรรณฉัตร หนูสวัสดิ์ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การนึ่งหน้าท้อง, ภาวะน้ำหนักเกิน, การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดรอบเอว ระดับไขมันหน้าท้อง และน้ำหนักตัว ด้วยวิธีการนึ่งหน้าท้องซึ่งเป็นภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของไทย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง 35 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบบันทึกผลการทดลอง การทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนร่างกายรอบเอว ระดับไขมันหน้าท้อง และน้ำหนักตัวหลังการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีรอบเอวลดลง 2.39 ซม. ระดับไขมันหน้าท้องหลังการทดลองลดลง 0.51 ซม. และน้ำหนักตัวลดลง 0.03 กก. ระดับความรู้สึกร้อนส่งผลในทิศทางเดียวกันในระดับสูงกับรอบเอว (r = 0.741) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับความรู้สึกร้อนส่งผลต่อรอบเอว ระดับไขมันหน้าท้อง และน้ำหนักตัว โดยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความสามารถในการอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 33.40, 37.70 และ 37.00 ตามลำดับ การนึ่งหน้าท้องมีความรู้สึกร้อนระดับปานกลาง รู้สึกทนได้ ( = 5.79 S.D. = 0.21) ไม่พบผลข้างเคียง พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันภาพรวม อยู่ในระดับบางครั้ง ( =2.49 S.D.= 0.18) โดยการรับประทานอาหาร ปฏิบัติสูงสุด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยครั้ง ( = 3.07 S.D. = 0.34) การทดลองมีผลให้รอบเอว ระดับ ไขมันหน้าท้อง และน้ำหนักตัวลดลง ทั้งนี้ต้องควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วย

 

References

Art of healing. (1998). Remedies Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.

Atcha,S. (2018). The Study of Diversity and Local Wisdom in Medicinal Plants Usage for Thai Traditional Medo Knowledge: A Case Study in Muang District, Ratchaburi Province. The 1th Muban Chombueng Rajabhat National Conference. (PP. 511 - 516.) Rajabhat University.

Boonchird, P. (2014). Research methodology and statistics for educational research. Wattana Panich.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Lawrence Erlbaum Associates.

Darabakor, A., Kruekaew, J., Pongpirul, K., & Teerachaisakul, M. (2021). The Effect of Thai Herbal Recipes “Ya Nab Uthorn” among Postpartum Waist Circumference Reduction: a Quasi–experimental Research. Journal of Health Science of Thailand, 30(6), 1063 - 1071. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/11567

Department of Disease Control (2021). Situation report of NCDs, diabetes, high blood pressure and elated risk factors. Ministry of Public Health.

Domea, Y., & Choothong, L. (2022). Development of Thai Herbal Products for Healthcare of Postpartum Women. Journal of Arts Management, 6(1), 455 - 470. https://so02.tci-thaijo.org/ index.php/jam/article/view/254219

Healing Arts Division, Department of Health Service Support. (2006). Textbook of general traditional medicine in the field of midwifery. Taipoom Publishing.

Institute for Population and Social Research. (2020). Childhood Overweight and Obesity (COO) Policy Research. Mahidol University.

Lekdee, T., & chuaychat, C. (2019). The Efficacy of hot salt pot compression cooperates with herbal steam and knowledge to BMI and Waist Circumference among village health

volunteer group in Diet & Physical Activity Clinic at Ban namphuttambon health promoting hospital, namphutsubdistrict, meuang district, Trang province. Koch Cha Sarn Journal of Science, 40(2), 100 - 114. https://science.srru.ac.th/kochasarn-files/files/kochasarn-0008.pdf

Ministry of Education. (1999). The Royal Textbook of Medicine. Ministry of Education.

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14