การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน โดยเครื่องมือ IQCODE

ศิราณี ศรีหาภาค

ผู้แต่ง

  • ศิราณี ศรีหาภาค วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัศมี ลือฉาย โรงพยาบาลร่องคำ
  • สุพัฒนา อรุณไพร โรงพยาบาลร่องคำ
  • วิภาวดี บรรพบุตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามัคคี
  • เพ็ญพักตร์ ไชยฤทธิ์ โรงพยาบาลร่องคำ
  • กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร โรงพยาบาลร่องคำ
  • สุธิดา อินทรเพชร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลในชุมชน, ภาวะสมองเสื่อม, การคัดกรอง, เครื่องมือ IQCODE

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ดูแลในชุมชน จำนวน 63 คน และ ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 1,756 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ Paired t-test, Chi-square test และ ค่า 95 % CI

ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ดูแลในชุมชน ร้อยละ 96.83 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 50 ปี ร้อยละ 58.72 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช.ขึ้นไป และร้อยละ 10 ไม่มีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุ
2) กระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วยการคัดเลือกเครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลในชุมชน พัฒนาหลักสูตรศักยภาพการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้ดูแลในชุมชน และ อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน และ 3) ผลลัพธ์การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชนด้วยเครื่องมือ IQCODE พบว่าระดับความรู้ของผู้ดูแลหลังการอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ส่วนด้านทัศนคติของผู้ดูแลพบว่าระดับทัศนคติเชิงลบหลังการอบรมลดลงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) อย่างไรก็ตามระดับทัศนคติเชิงบวกของผู้ดูแลก่อนและหลังการอบรมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ 4) ผลการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนด้วยเครื่องมือ IQCODE โดยผู้ดูแลพบความชุกความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 6.44 (95 % CI 5.4 – 7.7)

ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้สูงอายุ การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเข้าถึงระบบบริการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุสมองเสื่อม

References

Aekplakorn, W., Puckcharern, H., Thailkla, & Satheannoppakao, W. (2014). National Health Examination Survey VI (NHES VI) report. Health Systems Research Institute.

Borson, S., Scanlan, J.M., Chen, P., & Ganguli, M. (2003). The Mini-Cog as a screen for dementia: validation in a population-based sample. Journal of the American Geriatrics Society, 51(10), 1451-4. http://doi.org/10.1046/j.1532-5415.2003.51465

Chen, H., Lekoff, S., Chuengsatiansup, K., Sihapark, S., Hinton, L., Gallagher-Thompson, D., Tongsiri, S., Wisetpholchai, B., Fritz, S., Lamont, A., Domlyn, A., Wandersman, A., & Marques A. H. (2022). Implementation Science in Thailand: Design and Methods of a geriatric Mental Health Cluster – Randomized Trail. Psychiatric Service. 73(1), 83 – 91. http://doi.org/10.1176/appi.ps.202000028

Chuakhamfoo, N.N., Phanthunane, P., Chansirikarn, S., & Pannarunothai S. (2020). Health and long-term care of the elderly with dementia in rural Thailand: a cross-sectional survey through their caregivers. BMJ Open, 10(3), e032637. http://doi.org/10.1136/bmjopen-2019-032637

Dementia Forecasting Collaborators. (2019). Estimation of the global prevalence of Dementia in 2019 and forecasted prevalence in 2050: an analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet Public Health, 7(2), e105-e125. http://doi.org/10.1016/S2468-2667(21)00249-8

Hodkinson, H. M. (1972). Evaluation of a Mental Test Score for Assessment of Mental Impairment in the Elderly. Age Ageing, 1(4), 233 - 238. http://doi.org/10.1093/ageing/1.4.233

Jitapunkul, S., Pillay, I., & Ebrahim, S. (1991). The Abbreviated Mental Test: Its Use and Validity. Age Ageing, 20(5), 332 - 336. http://doi.org/10.1093/ageing/20.5.332

Jorm, A.F. (1994). A short form of the Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly (IQCODE): development and cross-validation. Psychological Medicine, 24(1), 145-153. http://doi.org/10.1017/S003329170002691X

Kongpakwattana, K., Dejthevaporn, C., Krairit, O., Dilokthornsakul, P., Mohan, D., & Chaiyakunapruk. N., (2019) A Real-World Evidence Analysis of Associations Among Costs, Quality of Life, and Disease-Severity Indicators of Alzheimer's Disease in Thailand. Value Health, 22(10), 1137 - 1145. http://doi.org/10.1016/j.jval.2019.04.1937

Na Chiangmai, N., & Wongupparaj, P. (2020). Dementia screening tests in Thai older adults: a systematic review. Journal of Mental Health of Thailand, 28(3), 187 – 198. https://www.academia.edu/87191003/Dementia_screening_tests_in_Thai_older_adults

National Statistical Office. (2021). The 2021 Survey of the Older Persons in Thailand. National Statistical Office. https://www.dop.go.th/ download/knowledge/th1663828576-1747_1.pdf

Puengsema, R. (2020). Nursing Role in Caring for Persons with Dementia. Thai Red Cross Nursing Journal, 13(1), 15 - 24. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/243779

Senanarong, V., Assavisaraporn, S., Sivasiriyanonds, N., Printarakul, T., Jamjumrus, P., Udompunthuruk, S., & Poungvarin, N. (2001). The IQCODE: An Alternative Screening Test for Dementia for Low Educated Thai Elderly. Journal of the Medical Association of Thailand, 84 (5), 648 – 655. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11560213/

Sihapark, S., Amornrojanavaravutti, W., Kam-on, N., Srioad, P., Srihanoo, P., & Tupsai, T. (2021) Problems and Needs of Long-Term Care for Elderly Community Dwellers Supported by Long Term Care Fund in Khon Kaen Province. Regional Health Promotion Center 9, 15(36), 44 – 62. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/issue/archive

Trongsakul, S., Lambert, R., Clark, A., Wongpakaran, N., & Cross, J. (2015). Development of the Thai version of Mini-Cog, a brief cognitive screening test. Geriatrics & Gerontology International, 15(5), 594 - 600. http://doi.org/10.1111/ggi.12318

Vongchavalitkul, B., Sanguanwongwan, W., Chatchaisucha, S., Limsarun, T., Thaisamak, S., & Ruengkhajhon, K. (2016). Knowledge and Attitude of the Elderly Caregivers: A Case Study of Thammapakorn Phoklang and Watmuang Elderly Care Center Nakhonratchasima Province. Journal of Business Administration the Association of Private Education Institutions of Thailand, 5(2), 74 – 91. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/issue/view/8165

World Health Organization. (2017, February 27). Global action plan on the public health response to dementia 2017-2025. https://www.who.int/publications/i/item/global-action-plan-on-the-public-health-response-to-dementia-2017-2025.

World Health Organization. (2020, May 29). The Epidemiology and impact of dementia: Current state and future trends. https://www.who.int/mental_health/neurology/dementia/dementia_ thematicbrief_epidemiology.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14