รูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ชัญญานุช เครือหลี

ผู้แต่ง

  • ชัญญานุช เครือหลี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก
  • จิรารัตน์ พร้อมมูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชุติมา เพิงใหญ่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤติกา อินทรณรงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก
  • เทอดศักดิ์ นำเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, ภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน, รูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนและสร้างรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน โดยดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะ ที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ เด็กวัยก่อนเรียนและผู้ปกครองในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง สงขลา จำนวน 166 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ส่วนที่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกพัฒนาการ 3) แบบบันทึกภาวะโภชนาการและ4) แบบประเมินพฤติกรรมการเตรียมอาหารของครอบครัว และแบบประเมินพฤติกรรมบริโภคเด็ก ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา ( IOC) เท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ ตัวแทนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศุนย์ละ 6 คน ทั้งหมดจำนวน 36 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านโภชนาการ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ การเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ให้ความรู้ครู พี่เลี้ยงและผู้ปกครอง เรื่องการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน 2) ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลที่มาจากการศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์สถานการณ์ 3) การจัดแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่มย่อยเพื่อระดมสมอง ในการออกแบบรูปแบบการเฝ้าระวังและการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน และ 4) ทีมวิจัยนำเอารูปแบบที่เกิดจากการคิดค้นของที่ประชุมมาสร้างเป็นรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน

ผลการวิจัย พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีปัญหาไม่รับประทานผัก มีภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน / ผอมและตัวเล็ก) และชอบรับประทานขนมกรุบกรอบ  สำหรับรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการที่พัฒนาขึ้น มีการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์ฯและผู้ปกครอง ทำให้มีแนวทางในการดูแลเด็กให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์และป้องกันหรือแก้ไขภาวะทุพโภชนาการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Ampansirirat, A., Thongmeekhaun, T., Phuphet, K., & Mad-a-dama, M. (2016). Community Capacity and Food Security and Food Safety Management Model: A Case Study in Khuan Ru Sub-district, Rattaphum District, Songkhla Province. Boromarajonani Nursing College, Songkhla.

Aorgart, W., & Pinyoanuntapong, S. (2016). The Study of Early Childhood Accordance with Food Behavioral Consumption in Case Of “THE SCHOOL IN BANGKOK”. Srinakharinwirot Academic Journal of Education, 17(2), 13 - 27. ttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/ article/view/8574/7497

Chaonlilitkul, N. (2016). Assessment of child growth. https://hpc11.go.th

Chuaysrinuan, J., Chaimay, B., & Woradet, S. (2019). HealthLiteracy towards Obesity Prevention among School Children. Academic Journal of Community Public Health, 5(1), 1 - 13. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/243211

Department of Mental Health. (2019, April 8). Obesity - short stature - low IQ' can be solved with nutrition in the early stages of life. https://dmh.go.th/news-dmh/view

Katekowit, B., & Tangsriprai, S. (2017). Food consumption behavior of preschool children in Area of responsibility of Health Center 4, Saraburi. Journal of the Department of Medical Services, 42(6), 129 - 134. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/ 248689

Kusol, K., Kaewpawong, P., Eaksirinimit, T., & Hongsum, T. (2023). Food Consumption Behaviors and Growth of Preschool Children in Child Development Centers, Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Southern Technology, 16(1), 41 - 53. https://so04.tci-thaijo.org/ index.php/journal_sct/article/view/257762

National Statistical Office. (2019, April 8). Situation of children and women in Thailand. https://www.nso.go.th/

Parimanon, C., Chaimay, B., & Woradet, S. (2018). Nutritional Status and Factors Associated with Nutritional Status among Children Aged Under 5 Years: Literature Review. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(1), 329 - 342. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/113003

Prommul, J., Klerlhee, T., Perngyai, C., & Suwanwaiphatthana, W. (2018). Nutritional Status of Pre-school Children with Participation of Families and Communities in Muang Songkhla. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 169 - 185. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/156686

Prommul, J., Suwanrat, M., Perngyai, C., Nelson, W., & Vongpradit, S. (2022). Satisfaction of the final year students on the quality of the Bachelor of Nursing Science Program 2012 revised course using CIPP Model. Journal of Education Thaksin. 22(1), 79 - 92. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/257140

Rungamornrat, S., Nookong, A., Kraimongkol, N., & Phuttisathian, R. (2017). Leading the way Official nutrition promotion for preschool children with overnutrition in child development centers. The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 32(4), 120 - 133. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/105423

Sangsawang, J., Chukumnird, S., Chupradit, P., Binthaprasitthi S., & Wattanasart, T. (2017). Development of food and Nutritional Management Model For Preschool Children Based on Mother’s Food Guideline:A Participatory Action Research. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 33(2), 146 - 158. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/110356

Singhasame, P., Suwanwaha, S., & Sarakshetrin, A. (2017). Nutritional Promotion in Pre-School Children. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 226 - 235. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/102092

Unicef. (2022, January). Gaps and inequality of children and women, Songkhla Province. https://www. unicef.org/thailand/sites/ unicef.org.thailand

Waivut, S. (2019). Research design Research and development model (R&D) and researchParticipatory Action (PAR). Training Program “Creating a new generation of researchers” (Chicka) Generation 7 [Symposium]. National Research Council of Thailand and Naresuan University.

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14