การศึกษาความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งของภาคใต้

ฟาอิส วาเลาะแต

ผู้แต่ง

  • ฟาอิส วาเลาะแต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • นิซูไรดา นิมุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุรวุฒิ ดอเลาะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • อนุชิต มะรอปิ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ความเหนื่อยหน่าย, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งของภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งของภาคใต้ และ 2) เพื่อศึกษากลวิธีการลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งของภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 10 คน โดยคัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามวัดระดับความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.85 และมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และ 2) แบบสัมภาษณ์ข้อคำถามกึ่งโครงสร้างใช้ในการสนทนากลุ่มย่อยของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.97 และมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งของภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.50, S.D. = 0.65) โดยพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่ายที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านงาน ซึ่งอยู่ระดับปานกลาง (M = 3.19, S.D. = 0.94) รองลงมา คือ ด้านองค์กร และด้านบุคคล (ความอ่อนล้าทางร่างกาย) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.68, S.D. = 0.90, M = 2.66, S.D. = 0.74) ตามลำดับ และด้านที่ทำให้พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานมีความเหนื่อยหน่ายในระดับน้อย โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านบุคคล (ความอ่อนล้าทางอารมณ์ และความอ่อนล้าทางการตระหนักรู้) (M = 1.99, S.D. = 0.69, M = 1.99, S.D. = 0.78) ตามลำดับ และกลวิธีการลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพจากการทำงาน ได้แก่ 1) การนอนหลับพักผ่อน 2) การดูแลสุขภาพร่างกาย 3) การรับประทานอาหารที่เหมาะสม 4) การวางแผนการทำงาน 5) การจัดตารางเวลาทำงานให้เหมาะสม 6) การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน 7) การบริหารจัดการความเครียด และ 8) การส่งเสริมสุขภาพจิต

References

Axisa, C., Nash, L., Kelly, P., & Willcock, S. (2019). Burnout and distress in Australian physician trainees: Evaluation of a wellbeing workshop. Australas Psychiatry, 27(3), 255 - 261. http://doi.org/10.1177/1039856219833793

Chamakiotis, P., Panteli, N., & Davison, R.M. (2021). Reimagining e-leadership for reconfigured virtual teams due to Covid-19. International Journal of Information Management, Elsevier, 60(C). http://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2021.102381

Chen, Y.-C, Guo, Y.- L.L, Chin, W.-S, Cheng, N.-Y, Ho, J.-J, & Shiao, J.S.-C. (2019). Patient–Nurse

Ratio is Related to Nurses’ Intention to Leave Their Job through Mediating Factors of Burnout and Job Dissatisfaction. International Journal Environmental Research and Public Health, 16(23), 4801. http://doi.org/10.3390/ijerph16234801

Jintarat, B., & Sithisarankul, P. (2022). Emotional labor and burnout in nursing profession. Journal of

Preventive Medicine Association of Thailand, 11(2), 435 - 446. https://he01.tci-thaijo.org/ index.php/JPMAT/article/view/248421

Klein, A., Taieb, O., Xavier, S., Baubet, T., & Reyre, A. (2020). The benefits of mindfulness-based interventions on burnout among health professionals: A systematic review. Explore (NY), 16(1), 35 - 43. http://doi.org/10.1016/j.explore.2019.09.002

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational And Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610. https://psycnet.apa.org/ record/1971-03263-001

McCormack, N., & Cotter, C. (2013, October). Managing Burnout in the Workplace: A Guide for Information Professionals. https://www.researchgate.net/publication/282177798_ManagingBurnout_in_the_Workplace_A_ Guide_for_Information_Professionals

Ministry of Labor Safety Act Occupational health and working environment. (2021, August 6). The act clarifies responsibilities and duties of employer and employee as well as those of governments. https://enviliance.com/regions/southeast-asia/th/th-osh

Ministry of Public Health. (2021, December 22). Criteria for risk reimbursement of staff working in surveillance, investigation, prevention, control and treatment of patients infected with Coronavirus 2019. https://hp.anamai.moph.go.th/th/manual-ofofficial/download?id=86033& mid=35018&mkey=m_document&lang=th&did=27817

Nantsupawat, A., Nantsupawat, R., Kunaviktikul, W., Turale, S., & Poghosyan, L. (2016). Nurse Burnout, Nurse-Reported Quality of Care, and Patient Outcomes in Thai Hospitals. Journal of Nursing Scholarship, 48(1), 83 - 90. http://doi.org/10.1111/jnu.12187

No-in, K., Cheevakasemsook, A., & Angsuchoti, S. (2021). The development of a reducing burnout model for professional nursesin a community hospital A reducing burnout model for professional nurses in a community hospital. Journal of Mental Health of Thailand, 29(1), 69 – 79. http://he01-tci-thaijo.org/index.php/jmht/ article/view/242178/168170

Omotade, S.J., Okafor, N., Omolayo, F., & Tajat, M.O. (2021). Prevalence of burnout syndrome among clinical nurses working at state hospital, Ijaye, Abekotuka, Ogun state, Nigeria. African Journal of Health Nursing and Midwifery, 4(5), 85 – 101. https://doi.org/ 10.52589/AJHNM-JXC09CBZ

Rezaei, S., Matin, B.K., Hajizadeh, M., Soroush, A., & Nouri, B. (2018). Prevalence of burnout among nurses in Iran: a systematic review and meta-analysis. International Nursing Review, 65(3), 361 - 369. http://doi.org/10.1111/inr.12426

Ramírez-Elvira, S., Romero-Béjar, J.L., Suleiman-Martos, N., Gómez-Urquiza, J.L., Carolina, M., Guillermo, L.F., & Albendín-García, L. (2021). Prevalence, Risk Factors and Burnout Levels in Intensive Care Unit Nurses: A Systematic Review and Meta-Analysis. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(21), 11432. https://doi.org/10.3390/ijerph182111432

Shirom, A., & Melamed, S. (2006). A comparison of the construct validity of two burnout measures in two groups of professionals. International Journal of Stress Management, 13(2), 176 - 200. https://doi.org/10.1037/1072-5245.13.2.176.

Thamrongvisava, S., Pitanupong, J., & Srisintorn, W. (2019). Burnout andassociated factors among nurses at Songklanagarind Hospital. Royal Thai Army Medical Journal, 72(3),177-185. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/218984

Tianjaruwattana, W., & Nawsuwan, K. (2021). Development of the public health workforce of the office of the permanent secretary, Ministry of Public Health to support health region. Journal of Health Science, 30(3), 531 - 546. https://thaidj.org/index.php/JHS/ article/view/10223

Wisetborisut, A., Angkurawaranon, C., Jiraporncharoen, W., Uaphanthasath, R., & Wiwatanadate, P. (2014). Shift work and burnout among health care workers. Occupational Medicine, 64(4), 279 - 286. https://doi.org/10.1093/occmed/kqu009

Yuan, Z., Yu, D., Zhao, H., Wang, Y., Jiang, W., Chen, D., Liu, X., & Li, X. (2021). Burnout of healthcare workers based on the effort-reward imbalance model: A cross-sectional study in China. International Journal of Public Health, 25, 66, 599831. https://doi.org/10.3389/ijph. 2021.599831.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14