การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

นลินรัตน์ พรหมโส

ผู้แต่ง

  • นลินรัตน์ พรหมโส นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อภิญญา วงศ์พิริยโยธา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพัตรา บัวที คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด, หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม, อุบัติการณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด ตามรูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ทำการศึกษา 3 ระยะ ระยะที่ 1 การค้นหาปัญหาทางคลินิก ระยะที่ 2 การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ และ ระยะที่ 3 การทดลองใช้แนวปฏิบัติ ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาล 12 คน และผู้ป่วย 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 1) แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด และ 2) แบบประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด มี 4 ด้าน คือ 1) การประเมินความเสี่ยงของการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด 2) การดูแลขณะผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 3) การให้ข้อมูลการใส่ท่อช่วยหายใจและการสื่อสาร และ 4) การบริหารจัดการ  หลังการทดลองพบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีอุบัติการณ์การเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด 8.47 ครั้ง และ 4.44 ครั้ง ต่อ 1,000 วันใส่ท่อช่วยหายใจ ตามลำดับ สัดส่วนของการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (χ2 = .350, p > .05) พยาบาลร้อยละ 100 มีคะแนนความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้อยู่ในระดับมาก

สรุปว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ การใช้ในระยะเวลาสั้นทำให้ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด ดังนั้นพยาบาลควรมีการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ในระยะเวลานานขึ้น

References

Abbas, A., & Lutfy, S. M. (2019). Incidence, risk factors, and consequences of unplanned extubation. The Egyptian Journal of Chest Diseases and Tuberculosis, 68(3), 346 - 350. http://doi.org/10.4103/ejcdt.ejcdt_165_18

Akkharawanasakun, B., Wangwan, K., & Mongkhonittivech, N. (2020). Effect of implementing clinical practice guidelines for unplanned endotracheal extubation prevention in medical intensive care unit 2, Chiangrai Prachanukroh Hospital. Changrai Medical Journal, 12(1), 73 - 81. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/217537

Berkow, L., & Kanowitz, A. (2020). COVID-19 Putting patients at risk of unplanned extubation and

airway providers at increased risk of contamination. Anesthesia and Analgesia, 131(1), e41 – e43. http://doi.org/10.1213/ANE.0000000000004890

Fujishima, S. (2023). Guideline-based management of acute respiratory failure and acute respiratory distress syndrome. Journal Intensive Care, 11, https://doi.org/10.1186/s40560-023-00658-3

Institute of Medical Research & Technology Assessment. (2013, September). Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II; AGREE II. https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2017/12/AGREE-II-Users-Manual-and-23-item-Instrument-2009-Update-2017.pdf

Kimnarak, S., Sukhong, R., Pimdee, Y., & Jaigra, S. (2019). Effectiveness of implementing clinical nursing practice guideline for preventing unplanned extubation in intensive care unit at Nakhonpathom Hospital. Region 4-5 Medical Journal, 38(3), 210 - 225. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/217969

Mahmood, S.A., Mahmood, O.S., El-Menyar, A.A., Asim, M.M., Abdelbari, A.A., Chughtai, T.S., & Al-Thani, H.A. (2019). Self-extubation in patients with traumatic head injury: determinants, complications, and outcomes. Anesthesia, Essays and Researches, 13(3), 589 – 595. http://doi.org/10.4103/aer.AER_92_19

Meksamut, T., Sahmaae, N., Khanbo, K., Saelim, K., Pasor, A., Agasa, R., Naosuwan, K., & Sahaworapan, T. (2023). Developing nursing guidelines to prevent unplanned endotracheal tube removal in patients admitted to medical intensive care unit. Journal Princess of Naradhiwas University, 15(2), 15 - 33. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view /255592

Na Nakhon, N. (2020). Effectiveness of implementing clinical nursing practice guidelines for prevention of unplanned endotracheal extubations in Medical Intensive Care Unit, Suratthani Hospital. Journal of Health Research and Innovation, 3(2), 30 - 44. https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/jhri/article/view/246614

Pokathip, S., Salakkhun, P., Suttiprapa, T., Datawee, P., Kwanchang, P., & Sanaphrom, N. (2019). Prevalence risk factor and nursing care of unplanned extubation: an integrative review. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthiprasong, 3(3), 53 - 67. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/204378

Polit, D.F. & Beck, C.T. (2017). Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice (10th ed.). Wolters Kluwer Health.

Puangfuang, K. (2014). Effective of implementing clinical practice guidelines for prevention of unplanned endotracheal extubation in Medical Intensive Care Unit, Buddhachinaraj Hospital, Phitsanulok Province [Master Thesis]. Chiang Mai University.

Salakkhum, P., Pokathip, S., jareunsee, P., Wasombat, O., Phumthong, P., Saythong, S., (2019). Situation of unplanned extubation Sanpasitthiprasong Hospital. Journal of Medicine Sunpasitthiprasong Hospital, 40(1-3), 51 - 60. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_ medjournal/article/view/249374

Soukup, S.M. (2000). The Center for Advanced Nursing Practice Evidence-based Practice Model: promoting the scholarship of practice. Nebraska Nursing Clinics of North America, 35(2), 301 - 309. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10873242/

Sukkul, A., Sriwantha, S., & Phatharapreeyakul, L. (2020). The effect of utilizing clinical nursing practice guideline for prevention incidence of unplanned extubation in critically Ill patients. Journal of Nursing Division, 47(3), 122 - 141. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ JND/article/view/249943

The Joanna Briggs Institute. (2015). Joanna Briggs Institute Reviewers’ Manual 2015 methodology for JBI scoping reviews. https://reben.com.br/revista/wp-content/uploads/2020/10/Scoping .pdf

Thongjam, R. (2020). Development of clinical nursing practice guideline for prevention unplanned extubation. Journal of Vongchavalitkul University, 33(1), 31 - 39. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/241975

ภาพที่ 1 แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14