ความต้องการในการดูแลและความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ชนิดรุนแรงที่ต้องยุติการตั้งครรภ์

ทัศณีย์ หนูนารถ

ผู้แต่ง

  • ทัศณีย์ หนูนารถ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช
  • มลิวัลย์ รัตยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช
  • เบญจวรรณ ละหุการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช
  • มลิวัลย์ บุตรดำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช
  • วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความต้องการในการดูแล, ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, ยุติการตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยาย เพื่อศึกษาความต้องการในการดูแลและความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงที่ต้องยุติการตั้งครรภ์ ผู้ให้ข้อมูล 15 ราย มีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยสรุปข้อมูลที่ได้ให้ผู้ให้ข้อมูลฟัง รวมถึงตรวจสอบข้อมูล ไม่ใส่ความรู้สึกของผู้วิจัยในทุกขั้นตอน นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์และสรุปประเด็นโดยการถอดเทป วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ตีความ สร้างข้อสรุปที่สามารถตอบคำถามการวิจัยได้
ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการด้านการดูแลประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 2) ความต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น ความรุนแรงของโรคและการรักษา 3) ความต้องการการรักษาที่ทันท่วงที เพื่อลดความวิตกกังวลและความเจ็บปวด และส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่ายังไม่มีความพร้อมที่ต้องยุติการตั้งครรภ์ เมื่อรับรู้ว่าต้องยุติการตั้งครรภ์จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล เครียดกับเหตุการณ์ที่กำลังจะเจอข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่อายุครรภ์ไม่ครบกำหนดคลอด แล้วจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ถือเป็นภาวะวิกฤตในชีวิต ประเด็นการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งสำคัญในการลดอาการข้างเคียง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการตอบสนองต่อความต้องการและความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ที่เผชิญกับภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาการดูแลอย่างเหมาะสมในอนาคต

References

Danpreeda, R. (2018). Case study of specific birth attendants. Nursing care of women pregnant with twins who have high blood pressure During severe pregnancy and cesarean section. Journal of King Mongkut's College of Nursing Phetchaburi Province, 1, 70 - 87.

Dechananthapiphat, R., & Luewan, S. (2020, February 3). Hypertension during pregnancy.

https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6655/

Health care Quality Accreditation Institute (Public Organization). (2021, October 1). Hospital and Health Service Standards (5th ed.). https://backend.ha.or.th/fileupload/DOCUMENT/00148/ 77c77e3f-ed2f-41a9-90d4-22164a69a871.pdf

Health Promotion Officer. (Department of Public Health). (2021, ใส่เดือนและวันที่). Situation analysis Death of a Thai mother within the first 6 months Fiscal year 2021. https://hp.anamai.moph.go.th

Khoyun, S., Sukonthawat, W., Kitkhuandee, B., & Thoin, J. (2021). Needs and Need Responses of the Family Members of PatientsTreated in the Intensive Care Unit. Srinagarind Medical Journal, 36(3), 333 - 339. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/251213

Lahti-Pulkkinen, M., Girchenko, P., Tuovinen, S., Sammallahti, S., Reynolds, R. M., Lahti, J., Heinonen, K., Lipsanen, J., Hamalainen, E., Villa, P.M., Kajantie, E., Laivuori, H., & Raikkonen, K. (2020). Maternal Hypertensive Pregnancy Disorders and Mental Disorders in Children. Hypertension. 75(6), 1429 – 1438. http://doi.org/10.1161/HYPERTENSIONAHA. 119.14140

Maitreechit, D., Sangin, S., & Siriarunrat, S. (2020). Relationships Between Health Care Behaviors, Anxiety, Social Support and Quality of Life among Pregnant Women with Pregnancy Induced Hypertension. Journal of Medical BioScience, 2(1), 39 – 47. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/clmb/article/view/215980

Intasri, C., & Tanvatanakul, V. (2022). Expectations and satisfyactions of clients on the service system of outpatient department in one public hospital of Chachoengsao province. Research and Development Health System Journal, 15(3) 12 8- 141. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/257989

Nuansiri, D. (2020). Effect of the development of a model of care for pregnant women with Induce Hypertension from the antenatal period to the postpartum period in Chom Thong Hospital. Lanna Journal of Health Promotion and Environmental Health, 9(1), 1 - 15.

Panprasert, R. (2020). Nursing care of pregnant women with severe preeclampsia: a case study. Singburi Hospital Journal, 29(1), 17 - 27. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/ article/view/248790/168441

Phanwichatkul, T., Kownaklai, J., Chaisetsampun, W., & Yothathip, H. (2023). Health Perceptions and Health Care of Pregnant Women with Gestational Diabetes. Journal of Nursing and Health Science Research, 15, 52 - 67. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/ view/257989

Rungsinsap, N. (2017, October 21). Surveillance of maternal mortality in Thailand in 2017. http://hp.anamai.moph.go.th/download/DMKM2/01MomKids/MK-2nd-02-DMKM-8C.pdf

Strategy and Planning Division. (2019, November 16). Public Health Statistics A.D.2018. http://bps.moph.go.th /new_bps/ sites/default/files/ statistic%2061.pdf

Sukkaew, N., Chatchawet, W., & Kritcharoen, S. (2021). Self-Care Experiences of Pregnant Women with Hypertensive Disorders. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(3), 32 - 48. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet /article/view/244981

Yokthuan, I., & Saengsri, R. (2021, May 26). Self-Care Knowledge Needs of Third-Trimester Pregnant Women Services Outpatient Department of Obstetrics and Gynecology, Nopparat Ratchathani Hospital. https://nrh.nopparat.go.th/academic/public/files

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14