แบบจำลองสาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กอายุ 0 – 3 ปี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้: การศึกษาเชิงคุณภาพ

รอฮานิ เจะอาแซ

ผู้แต่ง

  • นิซูไรดา นิมุ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • รอฮานิ เจะอาแซ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • จิณห์จุฑา ส้มเกิด สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • สารินี สาวัน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อานัติ หวังกุหลำ สมาคมบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เครือวัลย์ กี่ทองมาก สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การไม่ได้รับวัคซีน, จังหวัดชายแดนใต้, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กอายุ 0 - 3 ปีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 108 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ปกครอง
2) กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ 3) กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. และแกนนำสตรี จาก 6 อำเภอในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 18 กลุ่ม ใช้เวลาในการสนทนากลุ่มละ 90 - 120 นาที ผู้วิจัยบันทึกเทปขณะการสนทนาและถอดเทปคำต่อคำ และสรุปสาระสำคัญโดยใช้แผนที่ความคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผู้วิจัยนำเสนอข้อสรุปแก่ผู้ให้ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องหลังการสนทนากลุ่มทันที นำเสนอแก่นสาระหลักและรองแก่ตัวแทนผู้ให้ข้อมูล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 56 คน เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อสรุป

การศึกษาพบว่า กรอบแนวคิดสาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กอายุ 0 - 3 ปี เกิดจากปัจจัยด้านความลังเลของผู้ปกครอง ปัจจัยด้านอุปสรรคในการเข้าถึงบริการ และปัจจัยด้านการจัดบริการ โดยปัจจัยด้านความลังเลของผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับความกังวลต่ออาการข้างเคียง ความเครียดจากความขัดแย้งในครอบครัว ไม่เชื่อมั่นต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของวัคซีน เชื่อว่าการรับวัคซีนเป็นการไม่มอบหมายต่อพระเจ้า วัคซีนเป็นสิ่งสกปรก และไม่มั่นใจว่าวัคซีนฮาลาล ปัจจัยด้านอุปสรรคในการเข้าถึงบริการ ได้แก่ ความยากลำบากในการเดินทาง ขาดผู้สนับสนุนช่วยเหลือ ส่วนปัจจัยด้านการจัดบริการ ได้แก่ ระยะเวลาการให้บริการที่ไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต พฤติกรรมบริการ และประสิทธิภาพในการติดตามกลุ่มเป้าหมาย

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานเพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 - 3 ปี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จำเป็นต้องดำเนินการทั้งในด้านการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครอง การปรับปรุงการจัดบริการให้สะดวก และเข้าถึงได้ง่าย การปรับพฤติกรรมบริการ การสนับสนุนช่วยเหลือเพื่อลดข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการของผู้ปกครอง

References

Ansari, M.T., Jamaluddin, N.N., Ramlan, T.A., Zamri, N., Majeed, S., Badgujar, V., Sami, F., Hasnain, M.S., & Singh, H.K.B. (2021). Knowledge, attitude, perception of Muslim parents towards vaccination in Malaysia. Hum Vaccin Immunother, 17(3), 785 - 790. http://doi.org/ 10.1080/21645515.2020.1800325

Bureau of Epidemiology. (2023). Surveillance system of communicable diseases. http://doe.moph. go.th/surdata/index.php

Daya, S., Lillahkul, N., & Noin, J. (2018). Experience of parents of Thai muslim childhood aged 0 - 5 years in Yala province who rejected the service of expanded program immunization with vaccine. Journal of the Department of Medicine Service, 43(5), 137 - 141. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/247857

Department of Disease Control. (2019, December 5). Text book of vaccines and immunization 2019. Ministry of Public Health. https://www.who.int/news-room/facts-in-pictures/detail/immunization

Department of Disease Control. (2023, March 22). Standard for immunization 2023. Ministry of Public Health. https://www.who.int/campaigns/world-immunization-week/2023

Domang, R., & Prateepko, T. (2019). Factors affecting parents on seeking basic immunization program for their children aged 0 - 5 years in Pattani province. Journal of Health Science, 28(2), 225 - 235. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/6414

Ebi, S.J., Deml, M.J., Jafflin, K., Buhl, A., Engel, R., Picker. J., Hausler, J., Wingeier, B., Kruerke, D., Huber, B.M., Merten, S., & Tarr, P.E. (2022) Parents' vaccination information seeking, satisfaction with and trust in medical providers in Switzerland: a mixed-methods study. The BMJ: Leading Medical Research, 2(2), e053267. http://doi.org/10.1136/bmjopen-2021-053267

Fonseca, A. S. J., Philipe, R.S. T., Aparecida, F, L, S., Wilson, R. V. E., Francisca, M.E., Geralda, A. D., Castro, B.S., Eliane, E.N.R., & Penido, F.M. (2024). The impact of strategies for increasing vaccination coverage in children: a community clinical trial. Vaccine X, 9 (16), 00429. http://doi.org/10.1016/j.jvacx.2024.100429

Houdroge, F., Yunus, H., Delport, D., Strarns, E., Palmer, A., Naim, A., Kashif, A., Pyne, H.H., Scott, N., Oelrichs, R., & Wilson, D. (2022). Cost optimisation analysis of the expanded programme for immunisation: balancing equity and coverage in Pakistan. BMJ Global Health, 7(10), 1-11. https://gh.bmj.com/content/7/10/e009000

Jeharsae, R. (2011). Impacts of unrest on immunization among under-five years children in the southernmost provinces. Prince of Songkla University.

Jeharsae, R., Hasamoh, A., Talek, M.F., Jehalee, H., Tohpa, H. & Piriyasart, J. (2019). Situation analysis of children in the southern border provinces 2018-2019. Prince of Songkla University.

Jinarong, T., Chootong, R., Vichitkunakorn, P., & Songwathana, P. (2023). Muslim parents’ beliefs and factors influencing complete immunization of children aged 0–5 years in a Thai rural community: a qualitative study. BMC Public Health 23, 1348 - 1358. http://doi.org/10.1186/ s12889-023-15273-y

Langputeh, P, Yayueri, Nimu, N & Ranee, S. (2020). Decade of immunization research in southern border: A Systematic review. Thai Journal Pharmacy Practice, 12(1), 207-215. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/202997

Ministry of Public Health. (2024, April 12). Health data center: Immunization. https://hdcservice. moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=4df360514655f79f13901ef1181ca1c7

Naeem, M., Ozuem, W., Howell, K., & Ranfagni, S. (2023). A step-by-step process of thematic analysis to develop a conceptual model in qualitative research. International Journal of Qualitative Methods, 22, 1 - 18. https://doi.org/10.1177/1609406923120578

National Statistical Office Thailand & UNICEF Thailand. (2020, March 13). Multiple Indicator Cluster Survey 2019. https://catalogapi.nso.go.th/api/doc/MICS_31_2.pdf

National Statistical Office Thailand & UNICEF Thailand. (2023, March 13). Multiple Indicator Cluster Survey 2022: Report of 12 selected provinces in Thailand. https://www.unicef.org /thailand/media/11846/file/MICS%202022%20Thailand%2012%20selected% 20provinces%20EN.pdf

Sato, R. (2020). Association between access to a health facility and continuum of vaccination behaviors among Nigerian children. Hum Vaccin Immunother, 16(5), 1215 - 1220. https://doi.org /10.1080/21645515.2019.1678360

Schellenberg, N., Dietrich, L. M., Petrucka, P., & Crizzle, A.M. (2023). Predictors and impact of trust on vaccine decisions in parents of 2-year-old children in Canada: findings from the 2017 Childhood National Immunization Coverage Survey (cNICS). BMC Public Health, 23, 1796 -1820. https://doi.org/10.1186/s12889-023-16705-5

Shepard, D.S., Sanoh, L., & Coffi. E. (1986). Cost-effectiveness of the expanded programme on immunization in the Ivory Coast: a preliminary assessment. Social Science & Medicine, 22(3), 369 - 77. https://doi.org/10.1016/0277-9536(86)90136-x

Sirithammaphan, U., Chaisang, U. & Pongrattanamarn. K. (2023). Barriers to measles mumps rubella vaccine acceptance in the three southern border provinces of Thailand. Clinical and Experimental Vaccine Research, 12(4), 298 - 303. https://doi.org/10.7774/cevr.2023.12.4.298

ภาพที่ 1 สาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 - 3 ปี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14