จริยธรรมการตีพิมพ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (duties of authors)

         

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองผลงานของตนเองว่าเป็นผลงานใหม่ และไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน
  2. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อมูลวิจัยที่เป็นจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล
  3. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานผู้อื่นในกรณีที่นำผลงานผู้นั้น มาใช้ในผลงานของผู้นิพนธ์เอง และต้องปรากฏในรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบ และคำแนะนำการส่งบทความต้นฉบับของวารสาร
  5. บทความวิจัยจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และผู้นิพนธ์ต้องระบุเลขรับรองไว้ในบทความอย่างชัดเจน
  6. ผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ร่วมต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง และต้องรับรู้ เห็นชอบในการส่งบทความให้วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์พิจารณาตีพิมพ์
  7. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานผู้อื่น เช่น การคัดลอกผลงาน (plagiarism) , การปลอมแปลงผลงาน , การดัดแปลงผลงาน
  8. ผู้นิพนธ์ต้องไม่นำส่งบทความไปเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ ในระหว่างรอพิจารณาตีพิมพ์ โดยนับจากวันที่ผู้นิพนธ์ได้ส่งบทความมายังวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และจนถึงวันที่เผยแพร่บทความ หากวารสารได้ตอบรับการตีพิมพ์บทความแล้ว 
  9. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่ได้รับการสนับสนุนในกิตติกรรมประกาศ
  10. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนในบทความ (ถ้ามี)
  11. ในกรณีที่มีการตรวจพบว่าผู้นิพนธ์มีการกระทำผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณไม่ว่ากรณีใด  บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการมีสิทธิ์บอกยกเลิกหรือถอดถอนบทความได้

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (duties of editors)

               

  1. บรรณาธิการเป็นผู้พิจารณารูปแบบ ความครบถ้วน และคุณภาพของบทความเป็นเบื้องต้น และเป็นผู้ตัดสินในเลือกบทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการการประเมินเพื่อรับการตีพิมพ์
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ ระหว่างการดำเนินการเพื่อตีพิมพ์บทความในวารสาร แก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  3. บรรณาธิการเป็นผู้ตัดสินใจเลือกบทความตีพิมพ์หลังผ่านกระบวนการประเมินแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความทันสมัย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร
  4. บรรณาธิการจัดทำคำแนะนำ รูปแบบการพิมพ์บทความ และปรับปรุงคำแนะนำดังกล่าวให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  5. บรรณาธิการไม่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่เผยแพร่จากแหล่งอื่นๆ มาแล้ว
  6. บรรณาธิการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ และหากพบมีการคัดลอกผลงานผู้อื่นให้ติดต่อผู้เขียนเพื่อประกอบการรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
  7. บรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมิน
  8. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ เพราะความสงสัย แต่ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ก่อน
  9. บรรณาธิการจะตำเนินการกับผู้นิพนธ์หรือบทความที่ตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำ มีข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน และ/หรือมีการกระทำผิดด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณอย่างเหมาะสม

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (duties of reviewers)

             

  1. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบทความ และผู้นิพนธ์ในทุกช่องทางแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาของการประเมิน
  2. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ไม่ว่าโดยการเป็นผู้นิพนธ์ร่วม หรือความเกี่ยวเนื่องผูกพันอื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินมีความลำเอียงในการประเมินหรือไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ
  3. ผู้ประเมินบทความจะประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ หรือมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับศาสตร์นั้น ๆ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของบทความ และประเมินบทความโดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ขององค์ความรู้ ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหา โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
  4. ผู้ประเมินบทความสามารถเสนอแนะงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความของผู้นิพนธ์ได้ในการประเมิน ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้มีอ้างถึงงานวิจัยนั้น ๆ
  5. หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีความเหมือน มีความซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยปรากฏหลักฐานอันชัดแจ้ง ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์และแจ้งแก่บรรณาธิการทราบ