The การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับการเผยแพร่อาหารและขนมพื้นบ้านชุมชนบ้านจีน
คำสำคัญ:
การออกแบบและพัฒนา, โมบายแอปพลิเคชัน, อาหาร, ขนมพื้นบ้านบทคัดย่อ
อาหารและขนมพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การสืบสานและอนุรักษ์ไว้ ชุมชนบ้านจีน จังหวัดสตูล มีจุดเด่นด้านอาหารและขนมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และทำขึ้นเฉพาะในเทศกาลสำคัญ การนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการข้อมูล ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเก็บรักษา เผยแพร่ข้อมูล หรือนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับการเผยแพร่อาหารและขนมพื้นบ้าน ชุมชนบ้านจีน ซึ่งทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบ โดยใช้ยูสเคสไดอะแกรมและแผนภาพกระแสข้อมูล และพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยใช้ Glide Application, Google sheets และ Canva ผ่านการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันบนมือถือจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และการประเมินความพึงพอใจของ
แอปพลิเคชันจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน พบว่า แอปพลิเคชันอาหารและขนมพื้นบ้าน ชุมชนบ้านจีน มีประสิทธิภาพมากที่สุด (
= 4.63, S.D. = 0.529) เนื่องจากใช้งานง่าย สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และสอดคล้องต่อเทคโนโลยีในปัจจุบัน และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองใช้แอปพลิเคชัน ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านความสอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชันมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (
= 4.75, S.D. = 0.545) 2) ด้านการออกแบบแอปพลิเคชันมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (
= 4.64, S.D. = 0.532) และ 3) ด้านการทำงานของแอปพลิเคชันมีระดับความพึงพอใจมาก (
= 4.48, S.D. = 0.619) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันอาหารและขนมพื้นบ้าน ชุมชนบ้านจีน ที่ได้รับการพัฒนาและจัดทำขึ้นสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของอาหารและขนมพื้นบ้าน รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน สามารถต่อยอดไปสู่ภาคธุรกิจในรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
References
Boonchom, V., Khamdam, K. and Kreutong, R. 2020. The Development of Android Application for Disseminating Thai Cultural Heritage of the Lower Southern Provinces of Thailand. Thaksin University Journal 23(3): 31-40. (in Thai)
Boonmee, S., Putthidech, A., Tumdee, S. and Sookjam, A. 2023. Model of Tourism management of creative community-based tourism on Sustainable agriculture using Digital technology in Thap – Nam Banma Subdistrict, Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of Liberal Art of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi 5(1): 1-14. (in Thai)
Bunnoon, P., Nuansoi, W., Tunpanit, A. and Niseng, S. 2020. Factors Affecting Success in the Street Food Restaurant Business: Case Study of Chue-Chang Street Food, Hat Yai District, Songkla Province. University of the Thai Chamber of Commerce Journal 40(4): 99-119. (in Thai)
Duong, T. and Tung, L. 2023. Travel Intention and Travel Behaviour in the Post-Pandemic Era: Evidence from Vietnam. Organization and Markets in Emerging Economies 4(1): 171-193.
Durand, A., Hamersma, M. and Rienstra, S. 2023. Use and perceived effects of digital travel information for car and public transport travel. Ministry of Infrastructure and Water Management, Netherlands Institute for Transport Policy Analysis.
Hongboonmee, N. and Khunbun, P. 2021. Development of an application for forecasting the sweetness of pomelo on smartphone using deep learning technique. RMUTSB Academic Journal 9(1): 92-105. (in Thai)
Hongboonmee, N. and Wongpha, L. 2022. Classification of Chinese Herb Images Using Deep Learning Technique via Android Application. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal 15(2): 373-389. (in Thai)
Jirapanthong. W., Intrachamnan, W., Poonsawat, B., Imsombat, A., Niranatlumpong, W., Yampray, K. and Deechuay, N. 2021. A study of learning of digital business development with augmented reality technology via online system. RMUTSB Academic Journal 9(1): 106-117. (in Thai)
Klinjan, C. 2121. The Virtual Reality Information System of Cultural Tourism in Lop Buri Province for Elderly Adults. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal 14(2): 497-512. (in Thai)
Krajangchom, S. and Sangkakorn, K. 2019. Behaviors and Needs of Thai and Foreign Wellness Tourists in Upper North of Thailand. University of the Thai Chamber of Commerce Journal 40(1): 57-76. (in Thai)
Martin, S., Castro, M., Gago, D. and Torres, D. 2013. Empowering communities on line: A Massive Open Online Community on App Development and Entrepreneurship, pp. 37-40. In Proceedings of 2013 IEEE International Conference on Teaching, Assessment and Learning for Engineering. Bali, Indonesia.
Municipal office Chalung Subdistrict. 2016. OTOP Chalung. Business in the subdistrict. Available Source: https://www.chalungcity.go.th/otop/index.php, August 20, 2023.
Preechapanich, O. 2015. System Analysis and Design. IDC Premier, Nonthaburi.
Rattanachuchok, P. and Maneelert, C. 2021. Development of Learning Application on Intakhil Kiln and Earthenware Production. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal 14(3): 843-857. (in Thai)
Rawangwong, S., Homkhiew, C., Cheewawuttipong, W., Pirom, T. and Kamnerdwam, A. 2021. Application of Quality Function Development Technique for Designing and Developing Bag-Type Bulrush Reed Products. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal 14(3): 633-649. (in Thai)
Srisuwan, P. 2022. Competency-based courses to Enhance skills in Selling products Online. RMUTSB Academic Journal 4(3): 457-471. (in Thai)
Tunpanit, A., Bunnoon, P., Suwanno, P. and Madsa, T. 2022. The Development of Specialty Food Application for Hat Yai: A Case Study. ASEAN Journal of Scientific and Technological Report 25(3): 34-44. (in Thai)
Tungseng, T., Matthayomburut, W. and Sreesoompong, P. 2016. System Development of Community-Based Tourism Network of Satun Province. Thaksin University Journal 19(2): 67-80. (in Thai)
Wiwattanachang, N., Vichalai, C., Jantasuto, O. and Youngsukasem, N. 2017. The innovative paddle-wheel from indigenous knowledge. RMUTSB Academic Journal 5(2): 169-178. (in Thai)

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็น ต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษ์อักษรจากวารสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยก่อนเท่านั้น