ตัวแบบพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของเขื่อนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 11 แห่ง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนวชิราลงกรณเขื่อนรัชชประภา เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนห้วยกุ่ม เขื่อนน้ำพุงและเขื่อนบางลาง ด้วยวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลา 4 วิธี คือ วิธีแยกส่วนประกอบ วิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์และวินเทอร์ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีพยากรณ์รวม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ทั้งหมด 132 ค่า แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดข้อมูลฝึกฝน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 120 ค่า เป็นชุดข้อมูลเพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ และชุดข้อมูลทดสอบ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 12 ค่า เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของตัวแบบพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Square Error: RMSE) ต่ำสุด และใช้โปรแกรม Minitab 18 และ Excel Office 365 เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของเขื่อนแต่ละแห่ง เพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสม พบว่าวิธีการพยากรณ์รวมโดยการถ่วงน้ำหนักด้วยสัมประสิทธิ์การถดถอย เป็นวิธีที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของเขื่อนทั้ง 11 แห่ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็น ต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษ์อักษรจากวารสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยก่อนเท่านั้น
References
Department of Alternative Energy Development and Efficiency. 2014. The dam is a reservoir of water energy. Available Source: https://
ienergyguru.com/2015/10/dam-and-hydro-electricity/, March 1, 2021. (in Thai)
Keerativibool, W. 2013. A Comparison of Forecasting Methods between Box-Jenkins, Simple Seasonal Exponential Smoothing, and Combined Forecasting Methods for Predicting Monthly Mean Temperature. Burapha Science Journal 18(2): 149-160. (in Thai)
Manmin, M. 2006. Time series and forecasting. Prakaypruek Publishing Center, Bangkok. (in Thai)
Minsan, P. 2022. Forecasting model for Export Condom Quantity of Thailand on the COVID-19 situation. The Journal of Applied Science 21(1): 244500. (in Thai)
Montgomery, D.C., Peck, E.A. and Vining, G.G. 2006. Introduction to Linear Regression Analysis. 4thed. Wiley, New York.
Papukdee, N., Senawong, N. and Busababodhin P. 2019. A Comparative Forecasting Model of Monthly Rainfall in the Northeast of Thailand. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok 29(2): 302-313.
Sukparungsee, S. 2003. Using the Combined Forecasting Technique by Weighted Average. Journal of Technical Education Development 15(46): 1-7. (in Thai)
Taesombat, S. 2006. Quantitative Forecasting. Kasetsart University Press, Bangkok. (in Thai)
The Electricity Generating Authority of Thailand. 2020. Summary of the water situation and water management in EGAT reservoir in 2019. Available Source: http://water.egat.co.th/, May 30, 2021. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. 2014. What have we gained and lost by building the dam. Available Source: http://primaryscience.ipst.ac.th/?p=257, March 1, 2021. (in Thai)
Weiss, C.E., Raviv, E. and Roetzer, G. 2018. Forecast Combinations in R using the ForecastComb Package. The R Journal 10(2): 262-281.