ความสัมพันธ์ระหว่างกรดลีคานอริกและอะทาโนรินในไลเคน Parmotrema tinctorum
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาสหสัมพันธ์ของกรดลีคานอริกและอะทาโนรินโดยใช้วิธีการคำนวณสหสัมพันธ์ เพียร์สัน ทำการเก็บตัวอย่างไลเคนมากกว่า 25 ตัวอย่างในกรณีต่างเวลาซึ่งมีผลให้สภาพแวดล้อมต่างกันจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ใช้วิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงวิเคราะห์สารไลเคน คอลัมน์ที่ใช้คือไฮเปอร์ซิล C18 ขนาด 250 x 4.0 mm, 5 µm ทำการชะด้วยระบบแกรเดียนท์ ตรวจวัดด้วยเครื่อง ยูวี ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร เฟสเคลื่อนที่ 2 ชนิดที่ใช้คือเมทานอลเป็นตัวทำละลาย B และสารละลายบัฟเฟอร์ของ 1% กรดฟอสฟอริกเป็นตัวทำละลาย A โปรแกรมการชะของระบบแกรเดียนท์คือเริ่มต้นด้วย 30% B ที่อัตราการไหล 0.7 มิลลิลิตรต่อนาที จากนั้นเพิ่มตัวทำละลาย B เป็น 70% ภายในเวลา 14 นาที แล้วเพิ่มเป็น 100 % ภายในเวลา 30 นาที ผลที่ได้จากการวิเคราะห์คือ กรดลีคานอริกและอะทาโนรินไม่มีความสัมพันธ์กันและพบว่าปริมาณเฉลี่ยของกรดลีคานอริกและอะทาโนรินในช่วงฤดูฝนมีปริมาณมากกว่าในช่วงฤดูแล้ง
Article Details
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
References
Feige, G.B., Lumbsch, H.T., Huneck S. and Elix, J.A. 1993. Identification of lichen substances by a standardized high-performance liquid chromatographic method. J. Chromatogr. 646: 417-427.
Huneck, S. 1999. The significance of lichens and their metabolites. Naturwissenschaften 86(12): 559– 570.
Luo, H. , Yamamoto, Y. , Kim, J.A., Jung, J.S., Koh, Y.J. and Hur, J.-S. 2009. Lecanoric acid, a secondary lichen substance with antioxidant properties from Umbilicaria antarctica in Maritime Antarctica (King George Island). Polar Biol. 32(7): 1033–1040.
Noicharoen, K. 2002. Biodiversity of foliose and fruticose Lichens at Khao Yai National Park. Master’s thesis, Ramhkamhaeng University, Bangkok.
Plinio Cesar Pinto, C., Marcelo Marcelli, P., Hello Dos Santos, F. and Howell Edwards, G.M. 2009.
J. Mol. Struct. 920(1-3): 128-133.
Thepnuan, P. 2014. Quantitative Determination of Secondary Metabolites in lichen
Parmotrema tictorum by High Performance Liquid Chromatography. Master’s thesis, Ramhkamhaeng University, Bangkok.