ปัจจัยทางด้านส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวเดินทาง ท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก

Main Article Content

สุภาพร นนทนำ

บทคัดย่อ

        การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์และทางด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน  วิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน  วิเคราะห์ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างมีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน  และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนกรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก  การวิจัยนี้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวสะพานทุ่งนามุ้ย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 400 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ค่าสถิติทีแบบสองกลุ่มอิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า (1)  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 17-36 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,000 – 25,000 บาท และส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักในการท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินพักผ่อนหย่อนใจ เลือกใช้ยานพาหนะเป็นรถยนต์ส่วนตัวในส่วนของลักษณะการเดินทางเลือกมาท่องเที่ยวกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน เลือกใช้เป็นช่วงเวลาท่องเที่ยวในวันเสาร์  มีเวลาในการท่องเที่ยว 1-2 ชั่วโมง จำนวนครั้งในการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเป็นครั้งแรก ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการมาท่องเที่ยว 1 ครั้ง ต่ำกว่า 1,000 บาท  มีการรับข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่จากเว็บไซต์   โดยปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวคือ ตู้ ATM หายาก  ที่จอดรถไม่เพียงพอ  และมีการชื่นชอบบริเวณจุดถ่ายภาพมากที่สุดของแหล่งท่องเที่ยว  (3) ผลจากการจัดตัวแปรเข้าองค์ประกอบและการตั้งชื่อองค์ประกอบพบว่า  ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์มีทั้งหมด 41 ตัวแปร สามารถจัดองค์ประกอบได้จำนวน 8 องค์ประกอบ มีค่าไอแกนเกิน 1.0  ซึ่งแสดงว่าแต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรได้ทั้ง 41 ตัวแปร  ซึ่งทั้ง 8 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนรวมของตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 68.129  โดยองค์ประกอบที่ 1  ด้านการบริการ องค์ประกอบที่2 ด้านบุคคล องค์ประกอบที่3 ด้านสถานที่  องค์ประกอบที่ 4 ด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต องค์ประกอบที่ 5 ด้านแหล่งข้อมูลการ องค์ประกอบที่ 6   ด้านราคา องค์ประกอบที่ 7  ด้านสิ่งจูงใจ และองค์ประกอบที่ 8 ด้านสภาพแวดล้อม (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนของแหล่งท่องเที่ยว มีส่วนทำให้ตัวแทนผู้ตอบแบบสอบถามตัดสินใจมาท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก โดยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต เป็นอันดับที่ 1 รองลงมา คือ ด้านบุคคล เป็นอันดับที่2  และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการบริการ (5) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยด้านบริการตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุดคือ รายได้ รองลงมาคือ อาชีพ และน้อยที่สุดคือ ภูมิลำเนา  ปัจจัยด้านบุคคลตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุดคือ อายุ รองลงมาคือ ระดับการศึกษา และปัจจัยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิตตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุดคือ อาชีพ รองลงมาคือ อายุ และน้อยที่สุดคือ รายได้  (6)  ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุพบว่า ปัจจัยด้านบริการ ปัจจัยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว  ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจ และปัจจัยด้านสถานที่  ส่งผลต่อตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยร่วมกันทำนายความการตัดสินใจท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 16.4  โดยที่ปัจจัยบริการ(β= 0.232, sig. =0.000) ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต (β =0.204, sig.=0.000) ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว(β=0.183, sig.=0.000)  ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจ(β =0.149, sig. =0.001)  และปัจจัยด้านสถานที่(β =0.114, sig. =0.014) ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านราคา ด้านสภาพแวดล้อม และด้านบุคคล  สมการถดถอยที่เหมาะสมในการประมาณระดับตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้สมการถดถอยในการพยากรณ์ ดังนี้   = 54.688 + 3.941A+ 3.466D + 3.110E+2.542G+1.939C  โดย  A คือ ปัจจัยด้านการบริการ  D คือ ปัจจัยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต  E คือ ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว  G  คือ ปัจจัยด้านด้านสิ่งจูงใจ และ C คือ  ปัจจัยด้านสถานที่

Article Details

How to Cite
นนทนำ ส. . (2020). ปัจจัยทางด้านส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวเดินทาง ท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก . วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 58–80. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rusci/article/view/248499
บท
Articles
Author Biography

สุภาพร นนทนำ, อาจารย์ สาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์  สาขาสถิติประยุกต์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2560. สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561.สืบค้นจาก http://www.tourism.go.th/home/listcontent/11/221/276
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2544. หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติมา นุตยะสกุล และประสพชัย พสุนนท์. 2559. ปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม. สาขาวิชาการจัดการ. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐณิชา หนองหงอก. 2559. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการทางน้ำของการท่องเที่ยวที่หมู่เกาะเสม็ด
จังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา-การจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พัชรา ลาภลือชัย. 2546. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีและตลาดน้ำท่าคา จังหวัดหวัดสมุทรสงคราม. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
พิเชฐ คูหาเพ็ญแสง. 2546. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวชายหาด
จังหวัดระยอง. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต.
Cochran, W.G. 1977. Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.
Kotler, P. 2000. Marketing management. Millennium Edition.