นวัตกรรมตู้เตรียมตัวอย่างสำหรับงานเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย

Main Article Content

เจตนา วีระกุล
สุพล บ่อคุ้ม
ธนันชนัย อุ่นสิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประดิษฐ์ตู้เตรียมตัวอย่างสำหรับงานเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย 2) ศึกษาการทดสอบประสิทธิภาพตู้เตรียมตัวอย่างสำหรับงานเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย ผลการวิจัยพบว่า 1) ประดิษฐ์ตู้เตรียมตัวอย่างงานเพาะเลี้ยงแบคทีเรียแบบกรองอากาศในแนวดิ่ง (Vertical Flow) ขนาดของตู้ 60 x 90 x 70 เซนติเมตร วัสดุทำจากไม้อัดเคลือบผิวโฟเมก้าขนาดหนา 8 มิลลิเมตร ด้านหน้ามีกระจกปิดกันฝุ่นและแสงยูวี (Ultraviolet, UV) หนา 5 มิลลิเมตร ด้านบนติดระบบพัดลมกรองอากาศจากภายนอกผ่าน HEPA Filter ขนาด 12 นิ้ว ด้านในติดตั้งระบบแสงสว่างด้วยหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ขนาด 18 วัตต์และหลอดไฟ PHILIPS UV T8 TUV 18W (F17T8) สำหรับฆ่าเชื้อภายในตู้ มีอุปกรณ์แสดงอุณภูมิและความชื้นขณะทำงาน ระบบควบคุมพัดลม แสงสว่างหลอด ไฟฆ่าเชื้อด้วยสวิทซ์อยู่ด้านนอกตู้ 2) ผลการศึกษาความปลอดเชื้อ ตู้สามารถวางเพลทแก้วเลี้ยงเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 110 มิลลิเมตรในการทำงานได้สูงสุด 35 อัน พบว่าเพลทแก้วเลี้ยงเชื้อทุกเพลทที่เตรียมในตู้มีความปลอดเชื้อ 3) การศึกษาผลการทดลองใช้ตู้เตรียมตัวอย่างสำหรับงานเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย ทดสอบเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhimurium (TA 100) เปรียบเทียบกันระหว่างตู้ที่ประดิษฐ์ขึ้นและตู้ปลอดเชื้อมาตรฐาน พบว่าตู้ทั้งสองให้ผลไม่แตกต่างกันทั้งลักษณะและจำนวนโคโลนี ทั้งผลของ Negative Control และผล Positive Control โดยจำนวนโคโลนีของ Negative Control ของทั้งสองตู้แต่ละเพลทไม่เกิน 100 โคโลนี จำนวนโคโลนีของเพลทที่เตรียมตู้มาตรฐานนับได้เฉลี่ย 47.66 ± 15.85 โคโลนี เพลทจากตู้ที่ประดิษฐ์ขึ้นนับได้เฉลี่ย 52.44 ± 17.61 โคโลนี ค่า p-value = 0.25 และจำนวนโคโลนีของ Positive Control นับได้เกิน 600 โคโลนีในทุกเพลท

Downloads

Article Details

How to Cite
วีระกุล เ., บ่อคุ้ม ส., & อุ่นสิม ธ. . (2024). นวัตกรรมตู้เตรียมตัวอย่างสำหรับงานเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย. วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 120–131. https://doi.org/10.14456/ksti.2024.10
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณะสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2560). คู่มือมาตรฐานห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาทางการแพทย์และสาธารณะสุข/[ออนไลน์]. สถานที่พิมพ์ บริษัทเท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด/[สืบค้นเมื่อ 30 พฤษจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://narst.dmsc.moph.go.th/manuals/standard_manual_2560.pdf

เจริญศรีพรหมทา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการตัดสินใจเลือกใช้วัสดุลามิเนตในงานโครงการต่าง ๆ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงนุช เอื้อวงศ์. (2555). การเตรียมปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการ สอนวิชาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์/ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.sc.su.ac.th/knowledge/cell.pdf

นันทวรรณ จินากุล. ดวงใจ จันทร์ต้น. และ กานต์พิชชา นามจันทร์. (2560). ประสิทธิภาพของสารซักล้างและสารฆ่าเชื้อต่อการทำลายเชื้อบนพื้นห้องเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์. บูรพาเวชสาร ปีที่ 4 2560 (ฉบับที่ 2), 35 – 43

วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุลและคณะ. (2563). คู่มือปฏิบัติการพิษวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีรพงศ์ แดงประเสิรฐ. (ม.ป.ป.). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Biohazard Safety Cabinet (ตู้ปลอดเชื้อ)/ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.gibthai.com/service/note_detail/25. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ-Biohazard-Safety-Cabinet-ตู้ปลอดเชื้อ

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (ม.ป.ป.). Statistical Evaluation of Analytical Data การกระเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล/[ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://web.rmutp.ac.th/woravith/upload/

AnalChem/ppt-evaluation.pdf

สุกัลป์ วัฒนลออสมบุญ. (2565). การสร้างเครื่องบ่มเพาะเลี้ยงเซลล์อย่างง่ายเพื่อใช้ศึกษาผลกระทบของสัญญาณ Wi-Fi 6 ต่อเซลล์มนุษย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ.

สุขใจ ผลอำไพสถิตย์ และ อรอนงค์ รัชตราเชนชัย. (2557). คู่มือการใช้ตู้ชีวนิรภัยอย่างถูกต้องปลอดภัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. (2555). การตรวจวัดปริมาณจุลินทรีย์ในสมุนไพรด้วยวิธี Rapid Method : การอ่านผล.

[ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก : news_and_articles/article/0240/การตรวจวัดปริมาณจุลินทรีย์ในสมุนไพรด้วยวิธี-rapid-method-การอ่านผล

Kristien Mortelmansa and Errol Zeigerb. (2001). The Ames Salmonella /microsome mutagenicity assay Mutation Research 455(2000) 29–60.

Robert M. Rioux and William A. (2023). Fume Hoods and Laminar Flow Cabinets/ [Internet]. cited 2024 Feb 12]; Available from : https://app.jove.com/v/10372/fume-hoods-and-laminar-flow-cabinets

Sagar Aryal. (2022). Ames Test – Introduction, Principle, Procedure, Uses and Result Interpretation/

[Internet]. [updated 2022 August 10 ; cited 2024 Feb 12]; Available from :

https://microbiologyinfo.com/ames-test/