การศึกษาปล่องหลังคาคอนกรีตระบายอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ของบ้านจำลองภายใต้สภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย

Main Article Content

ปรีดา จันทวงษ์
โยธิน อึ่งกูล
บวร อิศรางกูร ณ อยุธยา

Abstract

บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบทดสอบระหว่างปล่องหลังคาคอนกรีตระบายอากาศ แบบธรรมชาติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (RCSC) กับหลังคาทั่วไป (SRC) โดยติดตั้งอยู่บนหลังคาทางด้านทิศใต้ของบ้านจำลองทั้งสองหลังที่มีขนาดเท่ากัน โดยบ้านจำลองมีขนาดปริมาตรเท่ากับ 4.05 m3 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของบ้านระหว่างบ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคา RCSC กับบ้านที่ติดตั้ง SRC ที่มีผลต่อการลดการสะสมความร้อนภายในห้องใต้หลังคาของบ้านจำลอง ผลการศึกษาทดลอง พบว่าบ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคา RCSC มีอุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่า อุณหภูมิของบ้านที่ติดตั้งหลังคาทั่วไปประมาณ 4-7oC ทำให้อัตราการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาเข้าสู่บ้านทางด้านทิศใต้จะลดลง และช่วยระบายอากาศภายในห้อง ทำให้มีการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านดีขึ้น ปล่องหลังคา RCSC จึงเป็นการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริม การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ใน การอนุรักษ์พลังงานและ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

 

Study of Roof Concrete Solar Chimney of House Model Under Hot Humid Climate of Thailand

This paper reports experimental comparative study between a Roof Concrete Solar Chimney (RCSC) and Simple Roof Concrete (SRC). RCSC and SRC were installed at the south façade of two small houses with the same dimension of 4.05 m3 volume. A performance comparison was conducted between RCSC and SRC on their ability to reduce heat gain in the attic. The experimental results revealed that the indoor temperature of RCSC room was 4-7oC lower than that of the SRC room. This ventilation reduced heat gain admitted through the south roof considerably. The RCSC is expected to promote solar energy use, save cooling energy and protect the environment.

Article Details

How to Cite
จันทวงษ์ ป., อึ่งกูล โ., & ณ อยุธยา บ. อ. (2010). การศึกษาปล่องหลังคาคอนกรีตระบายอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ของบ้านจำลองภายใต้สภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย. Journal of Science Ladkrabang, 19(2), 23–32. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/100098
Section
Research article