การศึกษาคุณสมบัติทางกลของชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศอบไอน้ำแบบผสมไมโครไฟเบอร์
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาคุณสมบัติทางกลของชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำแบบผสมไมโครไฟเบอร์ ซึ่งได้แก่ ความต้านทานแรงอัด ความหนาแน่นแห้ง อัตราการดูดกลืนน้ำ และความต้านทานแรงดัดของคอนกรีตมวลเบาโดยใช้ไมโครไฟเบอร์ มาเป็นส่วนผสมเพื่อแทนที่ปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ ในการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีต มวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ มีองค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วยซิลิกา และแคลเซียมออกไซด์เป็นส่วนผสมหลัก การนำไมโครไฟเบอร์มาแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราส่วนร้อยละ 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ ตามลำดับ ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า จากการผสมแทนที่ปูนซีเมนต์ ในอัตราส่วนที่เหมาะสมทำให้เกิดความต้านทานแรงอัดและความต้านทานแรงดัดเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบกับค่าตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.1505-2541 พบว่าสัดส่วนผสมแทนที่ซีเมนต์ร้อยละ1.0 ผ่านเกณฑ์โดยจัดอยู่ในชั้นคุณภาพ 4 ชนิด 0.70
Study of Mechanical Properties of Autoclaved Aerated Lightweight Concrete Element Containing Microfiber
This research is related to the investigation of the mechanical properties of Autoclaved Aerated lightweight Concrete (AAC) containing microfiber, i.e. compressive strength, dry density, water absorption and flexural strength. The production used microfiber instead of cement in Autoclaved Aerated Concrete (AAC) products. Autoclaved Aerated Concrete (AAC) comprised of silica and calcium oxide as the main chemical components. Microfiber was used to replace the cement in the proportion of 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 and 2.5 percent by cement weight. The results show that Autoclave aerated concrete (AAC) contained with microfiber increased compressive strength and flexural strength. Based on the Thai Industrial Standard 1505-1998, the specimens in the proportion of 1.0 percent were claimed for AAC class 4 types 0.70.