การประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากต้นหางนกยูงฝรั่ง Delonix regia Evaluation of Bioactivities of Delonix Regia Extracts
Main Article Content
Abstract
การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นของสารสกัดจากดอกและใบของต้นหางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia) จากจังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ กาญจนบุรี และสุรินทร์ ที่สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ โดยนำสารสกัดที่ได้มาทำการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichea coli ATCC 25922, Bacillus subtilis ATCC 6633, Micrococcus luteus ATCC 9341, Staphylococcus aureus ATCC 25923 และ Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 โดยใช้เทคนิค agar disc diffusion ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าสารสกัดใบจากจังหวัดชลบุรี สมุทรปราการและกาญจนบุรี และสารสกัดดอกจากจังหวัดสมุทรปราการและกาญจนบุรีสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ทั้ง 5 ชนิด จึงนำสารสกัดที่ยับยั้งเชื้อได้ทั้งหมดมาทำการหาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) พบว่า สารสกัดใบจากจังหวัดชลบุรีมีค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ทุกชนิด โดย E. coli มีค่าเท่ากับ 6.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วน B. subtilis, M. luteus, S. aureus และ P. aeruginosa มีค่าเท่ากับ 3.125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากนั้นนำสารสกัดทั้งหมดมาวิเคราะห์ความสามารถในการดักจับอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH radical scavenging assay พบว่าสารสกัดดอกและใบจากจังหวัดสมุทรปราการมีค่า IC50 ต่ำที่สุดเท่ากับ 50 และ 105 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และเมื่อนำสารสกัดทั้งหมดมาวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดโดยเทียบกับปริมาณกรดแกลลิก ผลปรากฏว่าสารสกัดดอกหางนกยูงฝรั่งจากทุกแหล่งปลูก มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ทั้งหมดสูงกว่าสารสกัดจากใบ โดยสารสกัดดอกจากจังหวัดชลบุรีมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ทั้งหมดสูงที่สุดเทียบเท่ากับ 200 มิลลิกรัมกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด จากการทดลองพบว่า สารสกัดใบหางนกยูงฝรั่งจากจังหวัดชลบุรีมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ดีที่สุด ในขณะที่สารสกัดดอกหางนกยูงฝรั่งจากจังหวัดสมุทรปราการมีความสามารถในการดักจับอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด ส่วนสารสกัดจากดอกมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ทั้งหมดสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดจากใบ
คำสำคัญ : หางนกยูงฝรั่ง ฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
The bioactivity studied of ethanolic extracts from flower and leaves of flame tree; Delonix regia were collected from 4 provinces; Chon Buri, Samut Prakarn, Kanchanaburi and Surin. Firstly the extracts were tested antibacterial activity with Escherichea coli ATCC 25922, Bacillus subtilis ATCC 6633, Micrococcus luteus ATCC 9341, Staphylococcus aureus ATCC 25923 and Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853. Preliminary were tested at 50 mg/ml with agar disc diffusion technique, the result showed that leaf extracts from Chonburi, Samut Prakarn and Kanchanaburi and flower extracts from Samut Prakarn and Kanchanaburi province could inhibited all tested bacterial species. Five extracts were collected to search the minimum inhibitory concentration (MIC) of bacterial species and the result revealed that the minimum concentration of leaf extract from Chonburi could inhibited all five bacterial species. Then, all extracts were analyzed for the efficacy of free radical scavenging by using DPPH radical scavenging assay. Both flower and leaf extracts from Samut Prakarn indicated the strongest reduction of free radical of the extracts with IC50 at 50 and 105 mg/ml, respectively. Finally, the extracts were evaluated total phenolic contents revealed that flower extract from Chon Buri had the highest content by 200 mg GAE/g extract.
Keywords : Delonix regia, antibacterial, antioxidant