การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในรูปแบบต่างๆของนักศึกษาภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Main Article Content
Abstract
กระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามี 3 ระบบ คือระบบแบบแอดมิชชั่น ระบบแบบโควตา และระบบแบบรับตรง ซึ่งในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ของนักศึกษาสาขาวิชาสถิติประยุกต์ โดยอาศัยข้อมูลนักศึกษาที่รับเข้ามาศึกษาในปีการศึกษา 2555 ถึง 2558 และคะแนนระดับสติปัญญาของนักศึกษาที่รับเข้ามาศึกษาในปีการศึกษา 2558 สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ การทดสอบความเป็นอิสระ การทดสอบภาวะเอกพันธ์ การทดสอบความแปรปรวน การทดสอบความแปรปรวนด้วยอันดับครัสคัลและวอลลิส และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่รับเข้ามาศึกษาในปีการศึกษา 2555 ถึง 2558 เป็นนักศึกษาที่มาจากระบบแบบโควตามากที่สุด รองลงมาคือระบบแบบแอดมิชชั่น คิดเป็นร้อยละ 54.78 และ 24.93 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนของนักศึกษาที่ไม่มารายงานตัวคิดเป็นร้อยละ 8.1 สัดส่วนของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทั้ง 3 ระบบมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันคิดเป็นร้อยละ 81.54 และนักศึกษาที่ไม่สำเร็จการศึกษามีสาเหตุมาจากการตกให้ออก ส่วนผลการเรียน ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จะพบว่านักศึกษาในปีการศึกษา 2555 จะมีผลการเรียนในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และภาษาศาสตร์แตกต่างกัน โดยนักศึกษาที่มาจากระบบแบบโควตาจะได้เกรดเฉลี่ยมากที่สุดในวิชาสังคมศาสตร์ และนักศึกษาที่มาจากระบบแบบโควตาและแบบรับตรงจะได้เกรดเฉลี่ยมากที่สุดในวิชาภาษาศาสตร์ ในส่วนผลการเรียนในหมวดวิชาเฉพาะ จะพบว่า นักศึกษาในปีการศึกษา 2555 และ 2558 จะมีผลการเรียนในกลุ่มวิชาทางด้านคณิตศาสตร์แตกต่างกัน โดยนักศึกษาในปีการศึกษา 2555 ที่มาจากระบบแบบโควตาและแบบรับตรงจะได้เกรดเฉลี่ยมากที่สุด และนักศึกษาในปีการศึกษา 2558 ที่มาจากระบบแบบแอดมิชชั่นและแบบรับตรงจะได้เกรดเฉลี่ยมากที่สุด จากการศึกษายังพบว่า ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาเฉพาะ นักศึกษามีผลการเรียนที่ไม่ดีมากที่สุดคือกลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ และกลุ่มวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ สำหรับคะแนนระดับสติปัญญาไม่มีความสัมพันธ์กับเกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา เกรดเฉลี่ยในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปทั้ง 4 กลุ่ม และเกรดเฉลี่ยในหมวดวิชาเฉพาะทั้ง 4 กลุ่ม
คำสำคัญ : ระบบแบบแอดมิชชั่น ระบบแบบโควตา ระบบแบบรับตรง
There are three student selection systems for further study at undergraduate level, namely the Admissions System, the Quota System, and the Direct Admission System. The objective of this research is to compare student selection systems for further study at the Faculty of Science, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, conducted by students of the Applied Statistics Field of Study. The research utilizes data of students admitted from the academic year 2012 to 2015 and the intellectuality level scores of students admitted in the academic year 2015. Testing Statistics include the Test of Independence, the Test of Homogeneity, the Analysis of Variance, the Kruskal-Wallis One-Way Analysis of Variance by Ranks, and the Correlation Analysis. Research result found that most of student admitted from the academic year 2012 to 2015 were from the Quota System, followed by the Admissions System, at 54.78 percent and 24.93 percent respectively. The proportion of students who did not present themselves was 8.1 percent. The proportion of graduated students is 81.54 percent and there is no difference among the three systems. Students’ non-graduation rate was resulted from failed-exam that is subject to dismissal. Results of study in the general subject studies found that students admitted in the academic year 2012 performed differently in the social science and linguistics. Students from the Quota System achieved highest Grade Point Average (GPA) in the social science subject and students from both the Quota System and the Direct Admission System achieved highest GPA in the linguistics subject. Regarding the specific subject, students admitted in the academic year 2012 and 2015 had different achievement in the group of mathematics subjects. Students admitted in the academic year 2012 though the Quota System and the Direct Admission System achieved highest GPA. Meanwhile, Students admitted in the academic year 2015 via the Admissions System and the Direct Admission system achieved highest GPA. The study further found that, in the groups of general subjects and specific subjects, students had bad academic performance in the linguistics and sciences respectively. Students’ score of intellectual level has no
relationship with their accumulated GPA, the GPA for all four groups of general subjects, and the GPA for all four groups of specific subjects.
Keywords : Admissions System , Quota System, Direct Admission System