การถ่ายเทความร้อนและความชื้นภายในบ้านจำลองที่ใช้ผนังคอนกรีตมวลเบา แบบอบไอน้ำผสมไมโครไฟเบอร์ และ คอนกรีตมวลเบาแบบไม่อบไอน้ำ

Main Article Content

บวร อิศรางกูร ณ อยุธยา
ปรีดา จันทวงษ์
โยธิน อึ่งกูล

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายเทความร้อนและความชื้นระหว่างบ้านจำลอง ทั้งสองหลังที่ใช้ผนังคอนกรีตมวลเบาแบบอบไอน้ำผสมไมโครไฟเบอร์ (AAC-Microfiber) กับคอนกรีต มวลเบาแบบไม่อบไอน้ำ (Non-AAC) ทำการเปรียบเทียบโดยใช้บ้านจำลองขนาดเล็ก มีผนัง 4 ด้าน แต่ละ ด้านมีขนาดพื้นที่เท่ากับ 2.7 ตารางเมตร มีขนาดปริมาตรเท่ากับ 4.05 ลูกบาศก์เมตร ผนังมีความหนา เท่ากับ 0.075 เมตร ไม่ฉาบปูนและทาสีบนผนังทั้งภายในและภายนอก ทำการทดลองโดยปิด เครื่องปรับอากาศ และปิดประตู หน้าต่างทุกบาน ผลจากการศึกษาพบว่า บ้านที่ใช้ผนัง Non-AAC จะมี อุณหภูมิ และความชื้นอากาศภายในสูงกว่า บ้านที่ใช้ผนัง AAC-Microfiber ผลจากการทดลองนี้ยืนยัน ได้ถึง ประสิทธิภาพที่ดีในด้านสมรรถนะทางความร้อน และสามารถลดความชื้นอากาศของผนัง AAC–Microfiber ภายใต้สภาวะอากาศของกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ : การอนุรักษ์พลังงาน, คอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมไมโครไฟเบอร์ (AAC - Microfiber), คอนกรีตมวลเบาไม่อบไอน้ำ (Non-AAC), สภาวะอากาศของกรุงเทพมหานคร

 

Abstract

The goal of this paper is to study a comparison of Heat and Moisture Transfer between two house models having concrete walls made from Autoclaved Aerated Concrete mixed with Microfiber (AAC - Microfiber) and an Non - Autoclaved Aerated Concrete (Non-AAC). A comparison was conducted using two small houses having 4 side - walls of 2.7m2 area each and 4.05 m3 in volume. The wall thickness was 0.075 m. with no coat and no paint on both internal and external surfaces. Experiments were conducted with closed air conditioning and closed windows and doors for both. It was observed that the Non-AAC wall had higher indoor air and moisture content of house than the AAC – Microfiber wall, these results confirmed therefore the good hygrothermal performance and moisture content reducing of AAC – Microfiber under tropical climate of Bangkok.

Keywords : Energy saving, Autoclaved Aerated Concrete mixed Microfiber (AAC-Microfiber), Non - Autoclaved Aerated Concrete (Non-AAC), climate of Bangkok

Article Details

How to Cite
ณ อยุธยา บ. อ., จันทวงษ์ ป., & อึ่งกูล โ. (2011). การถ่ายเทความร้อนและความชื้นภายในบ้านจำลองที่ใช้ผนังคอนกรีตมวลเบา แบบอบไอน้ำผสมไมโครไฟเบอร์ และ คอนกรีตมวลเบาแบบไม่อบไอน้ำ. Journal of Science Ladkrabang, 20(2), 1–12. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/19786
Section
Research article