การวิเคราะห์การอยู่รอดในการออกกลางคันของนักเรียน วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ดวงกมล อุดมรักษาทรัพย์
จุฑาธิป ตัณสถิตย์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การอยู่รอดในการศึกษาฟังก์ชันการอยู่รอด มัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอด อัตราความเสี่ยงอันตรายต่อการออกกลางคัน และเพื่อศึกษาโมเดลฟังก์ชันความเสี่ยงอันตรายของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่แรกเข้าศึกษารุ่นปีการศึกษา 2550 จนถึงรุ่นปีการศึกษา 2553 สุ่มตัวอย่างจำนวน 483 คน ด้วยแผนการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การอยู่รอดในการศึกษาระยะเวลาการอยู่รอด มีตัวแปรอิสระ ได้แก่ รุ่นปีการศึกษา เพศ อายุ สาขางาน เกรดเฉลี่ยสะสมมัธยมศึกษาตอนต้น เกรดเฉลี่ยภาคเรียนสุดท้าย การอยู่อาศัย สถานภาพครอบครัว สถานภาพสมรสผู้ปกครอง อาชีพผู้ปกครอง รายได้ผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการ ศึกษาสรุปได้ว่า จากการวิเคราะห์แบบตารางชีพ (Life Table) พบว่า มัธยฐานของระยะ เวลาการอยู่รอดมากกว่าภาคเรียนที่ 6 โดยภาคเรียนที่ 6 เป็นช่วงเวลาที่มีอัตราเสี่ยงสูงสุด คือมีอัตราความเสี่ยงเท่ากับ 0.31 และนักเรียนจะอยู่รอดได้นานกว่าภาคเรียนที่ 6 เท่ากับ 43% การเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดโดยใช้การวิเคราะห์แบบ Kaplan-Meier และใช้สถิติ Log-rank test จำแนกตามตัวแปรอิสระ พบว่า ตัวแปรที่ผลการเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เกรดเฉลี่ยสะสมมัธยมศึกษาตอนต้น เกรดเฉลี่ยภาคเรียนสุดท้าย การอยู่อาศัย สถานภาพครอบครัว สถานภาพสมรสผู้ปกครอง และอาชีพผู้ปกครอง การวิเคราะห์โมเดลฟังก์ชันความเสี่ยงอันตรายด้วยการวิเคราะห์การถดถอยของ Cox พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงอันตรายต่อการออกกลางคัน คือ เกรดเฉลี่ยภาคเรียนสุดท้าย และอาชีพผู้ปกครอง

คำสำคัญ : การออกกลางคัน, การวิเคราะห์การอยู่รอด, วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส

 

Abstract

The purposes of this research are; to study the dropping out of the students in Bunharn-Jamsai Polytechnic College, Suphanburi entering in the academic year 2007 – 2010; and to select the variables affecting the dropout rate. Survival analysis was applied during the study of survival function, median survival time, hazard rate of dropping out and hazard model. The predicting factors include: academic year, gender, age, studying major, grade point average (GPA) of junior high school, grade point average of last semester (GPS), residency, family status, guardians’ marital status, guardians’ occupation, and guardians’ salary. The sample, which was selected using stratified random sampling, consisted of 483 students. The data were analyzed through Survival Analysis Procedure using SPSS for Windows.

The study shows that, from life table, the median survival time is more than 6th semester. The highest risk period of 0.31 and survival time of 43% occurs in the 6th semester. The Kaplan Meier analysis indicate that the predictors which affect survival time with significantly difference are GPA of junior high school, GPS, residency, family status, guardians’ marital status, and guardians’ occupation. The predictors, affecting hazard of these students are GPS, and guardians’ occupation.

Keywords: Dropping out, Survival Analysis, Bunharn-Jamsai Polytechnic College

Article Details

How to Cite
อุดมรักษาทรัพย์ ด., & ตัณสถิตย์ จ. (2014). การวิเคราะห์การอยู่รอดในการออกกลางคันของนักเรียน วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส จังหวัดสุพรรณบุรี. Journal of Science Ladkrabang, 23(1), 46–61. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/19790
Section
Research article