ทัศนคติของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังที่มีต่อการเรียนการสอนตามนโยบายการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาทัศนคติของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่มีต่อการเรียนการสอนตามนโยบายการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยศึกษาประชากรจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกทุกชั้นปี จำนวน 4,458 คน สุ่มตัวอย่างขนาด 394 คน โดยใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การทดสอบ Z การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-wayANOVA) การเปรียบเทียบรายคู่ (Multiple Comparision) ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการสำรวจ พบว่า ทัศนคติของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่มีต่อการเรียนการสอน โดยภาพรวม รวมทั้งด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ และด้านกระบวนการเรียนการสอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเช่นกัน จากการทดสอบทัศนคติที่มีต่อการเรียนการสอนด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านกระบวนการเรียนการสอน และโดยภาพรวมของนักศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ชั้นปี ต่างกัน พบว่ามีทัศนคติต่อการเรียนการสอน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่นักศึกษาที่เรียนสาขาต่างกัน มีทัศนคติต่อการเรียนการสอนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ : ทัศนคติ, การประกันคุณภาพ
Abstract
This research is a study on the perception of students in Faculty of Science, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang toward the instructional management according to Quality Assurance Policy of Office of Higher Education Commission. The research exploits the sample size of394 from the total population of 4,458 students from every class year ranging from Bachelor degree, Master degree, and Doctoral degree, using Systematic Sampling . The data was collected via questionnaires. Statistical methods used in data analysis are percentage, Z-test, One-way ANOVA, and Multiple Comparison by Least Significant Difference (LSD). Research results found that the overall perception of students in Faculty of Science, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang toward the instructional management is in high level. In aspects of courses, instructors and methods of instructions, the results were also in high level. From the research on perception of students toward instructional management in aspects of courses, instructors, methods of instructions and overall perception of students with different gender, level of education, and class year, it was found that the perception of students toward instructional management has no significant difference but students with different major has significant difference in perception toward instructional management.
Keywords : Attitude, Quality Assurance