การจำลองสถานการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของคลินิกกุมารเวชและอายุรกรรม ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพัทลุง

Main Article Content

ศศิวรรณ รัตนอุบล
ชานินทร์ ศรีสุวรรณนภา

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งมีจุดประสงค์เพื่อจำลองระบบปัญหาแถวคอยและสถานการณ์ทางเลือกเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้บริการของคลินิกกุมารเวชและอายุรกรรม ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพัทลุง ทำการเก็บข้อมูลเวลาการรอคอยและการให้บริการของแต่ละจุดให้บริการ 15 วันทำการตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 16.30 น. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย กล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล กล้องเว็บแคม คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา และแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล จำลองระบบด้วยโปรแกรม Arena วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาโดยสรุปเป็นดังนี้

เพิ่มพยาบาลเข้าไปช่วย ณ จุดซักประวัติ 1 คน ช่วงเช้าเวลา 8.30 น.-12.00 น. ณ คลินิกกุมารเวช สำหรับตัวแบบวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี ทำให้ เวลารอรับบริการเฉลี่ยรวมของผู้ป่ วยทั่วไป ลดลงจากเดิม 166.63 นาที เป็น 120.42 นาที ร้อยละลดลงคิดเป็น 27.73 และเวลารอรับบริการเฉลี่ยรวมของผู้ป่วยบัตรนัด เพิ่มขึ้นจากเดิม 59.65 นาที เป็น 80.71 นาที ร้อยละเพิ่มขึ้นคิดเป็น 35.31 ส่วนตัวแบบคลินิกกุมารเวช สำหรับวันศุกร์ เพิ่มพยาบาล 1 คน ณ จุกซักประวัติเช่นเดียวกับตัวแบบวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี ทำให้ เวลารอรับบริการเฉลี่ยรวมของผู้ป่วยทั่วไป ลดลงจากเดิม 148.98 นาที เป็น 101.62 นาที ร้อยละที่ลดลง คิดเป็น 31.79 และเวลารอรับบริการเฉลี่ยรวมของผู้ป่ วยบัตรนัด เพิ่มขึ้นจากเดิม 43.95 นาที เป็น 50.89 นาที ร้อยละเพิ่มขึ้นคิดเป็น 15.79

เพิ่มเจ้าหน้าที่เวชสถิติ ณ จุดค้นบัตร 1 คน เวลา 9.00 น.-12.00 น. เพิ่มพยาบาล 1 คน ณ จุดซักประวัติ ผู้ป่วยทั่วไปโต๊ะที่ 1 เวลา 8.30 น.-12.00 น. และเพิ่มแพทย์อีก 1 คนเวลา 9.00 น.-16.30 น. ที่คลินิกอายุรกรรม ทำให้ เวลารอรับบริการเฉลี่ยรวมของผู้ป่วยทั่วไป ลดลงจากเดิม 217.34 นาที เป็น 146.34 นาที ร้อยละที่ ลดลงคิดเป็น 32.67 และเวลารอรับบริการเฉลี่ยรวมของผู้ป่วยบัตรนัด ลดลงจากเดิม 176.45 นาที เป็น 137.51 นาที ร้อยละที่ลดลงคิดเป็น 22.07

คำสำคัญ : การจำลองระบบปัญหาแถวคอย, ARENA, โรงพยาบาลพัทลุง

 

ABSTRACT

The objective of this study is to simulate the queuing problem system and scenarios in order to increase the service effectiveness of pediatric and medical clinics in outpatient building of Phatthalung Hospital. The waiting and service time at each service point for 15 working days were collected from 7.00 a.m. to 4.30 p.m. VDO camcorder, Webcam Camera, Notebook and recording sheet as instrument for collecting data were used. Arena software was used to simulate Hospital’s service alternative systems. Statistics used to analysis data were percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The results were as follows.

Adding one nurse at general examination point on 8.30-12.00 a.m. at pediatric clinic for Monday thru Thursday model had made the average total waiting time of general patient to be decreased from 166.63 minutes to 120.42 minutes or 27.73% and those of appointed patient to be increased from 59.65 minutes to 80.71 minutes or 35.31%. And doing the same to Friday model hade made those of general patient to be decreased from 148.98 minutes to 101.62 minutes or 31.79% and those of appointed patient to be increased from 43.95 minutes to 50.89 minutes or 15.79%.

Adding one medical record staff at card searching point on 9.00-12.00 a.m., one nurse at general examination point on 8.30-12.00 a.m., and one doctor on 9.00 a.m-4.30 p.m., at medical clinic for Monday thru Friday model had made the average total waiting time of general patient to be decreased from 217.34 minutes to 146.34 minutes or 32.67% and those of appointed patient to be decreased from 176.45 minutes to 137.51 minutes or 22.07% .

Keywords: Simulation, ARENA, Phatthalung Hospital

Article Details

How to Cite
รัตนอุบล ศ., & ศรีสุวรรณนภา ช. (2013). การจำลองสถานการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของคลินิกกุมารเวชและอายุรกรรม ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพัทลุง. Journal of Science Ladkrabang, 22(1), 107–116. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/19878
Section
Research article