An Expenditure Comparison Analysis of Revenue Faculty of Science King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์งบประมาณเปรียบเทียบงบรายจ่ายของงบประมาณเงินรายได้ ของคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตามแผนงานจัดการศึกษาอุดมศึกษา โดยแบ่งเป็นกองทุนเพื่อการศึกษา และกองทุนสินทรัพย์ถาวร ในปีงบประมาณ 2555-2559 และจัดทำแผนงบประมาณเงินรายได้ ด้านรายจ่ายปีงบประมาณ 2560 - 2561 แหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มาจาก ทะเบียนคุมเงิน (งบรายได้) ของงานการเงินคณะวิทยาศาสตร์ ผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณเงินรายได้ด้านรายรับและรายจ่าย ในปีงบประมาณ 2555 – 2559 ส่วนใหญ่พบว่ามีการใช้งบประมาณเงินรายได้ด้านรายจ่ายรวมกองทุนเพื่อการศึกษาและกองทุนสินทรัพย์ถาวรใกล้เคียงกับงบประมาณเงินรายได้ที่ได้รับในทุกปีงบประมาณ ยกเว้นในปีงบประมาณ 2556 มีการใช้งบประมาณเงินรายได้ ด้านรายจ่ายรวมและกองทุนสินทรัพย์ถาวรสูงกว่างบประมาณเงินรายได้ที่ได้รับ และมีรายจ่ายจากกองทุนเพื่อการศึกษาต่ำกว่างบประมาณที่ได้รับ จะเห็นได้ว่าคณะวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มการบริหารจัดการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับมาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำการประมาณค่างบประมาณเงินรายได้ในช่วงปีงบประมาณ 2560 – 2561 ของแต่ละภาควิชา จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย พบว่าประมาณการเงินรายได้ของกองทุนเพื่อการศึกษาส่วนใหญ่นั้นมีแนวโน้มของงบประมาณเงินรายได้ลดลง ยกเว้น ภาควิชาคณิตศาสตร์ และภาควิชาสถิติ แต่งบประมาณเงินรายได้ของกองทุนสินทรัพย์ถาวรนั้นมีแนวโน้มลดลงในเกือบทุกภาควิชา ยกเว้นภาควิชาสถิติ จึงส่งผลให้แนวโน้มของงบประมาณเงินรายได้ของคณะวิทยาศาสตร์ลดลง ทั้งในกองทุนเพื่อการศึกษาและกองทุนสินทรัพย์ถาวร
คำสำคัญ : งบประมาณเงินรายได้ การวิเคราะห์งบประมาณ
Abstract
This research aimed to report the analysis of the 2012 – 2016 and 2017 - 2018 budget of the Faculty of Science, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL). According to KMITL higher education plan, that budget fund was divided into education fund and permanent assets. The analysis data come from Money Control Registration (income statement), Finance, Faculty of Sciences. The results revealed that in the previous five years, the amount of incomes were slightly higher than that of the expenses. It can be concluded that the Faculty of Science’s management direction of getting and using funds has become more efficient. This study also attempted to predict the incomes and the expenses in education fund and the permanent assets of the future fiscal budget in order to plan all of them out more effectively.
Keyword : income, expenditure analysis