ความมีชีวิตและการเก็บรักษาละอองเรณูทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พิชัย ใจกล้า

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาความมีชีวิตและการเก็บรักษาละอองเรณูทุเรียนที่ปลูกในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ หลงลับแล หลินลับแล หมอนทอง ชะนี ก้านยาว และกระดุมทอง ศึกษาความมีชีวิตและเปอร์เซ็นต์การงอกของเรณู โดยเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 0, 5 และ 25 องศาเซลเซียส ทดสอบความมีชีวิตด้วยวิธีการทดสอบการงอกหลอดเรณูในอาหารเหลวที่ความเข้มข้นของน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การงอกของละอองเรณูทุเรียนทุกพันธุ์ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ละอองเรณูทุเรียนที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 36 วัน อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 28 วัน และที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 6 วัน พันธุ์ที่มีแนวโน้มในการเก็บรักษาละอองเรณูได้นาน คือ หมอนทอง ชะนี และก้านยาว หลังจากนั้นเรณูสูญเสียความงอกโดยสิ้นเชิง

คำสำคัญ : ความมีชีวิตของเรณู  การเก็บรักษาเรณู  ทุเรียน

 

Abstract

Pollen viability and pollen storage of durian (Durio zibethinus Murray) from Lab-lae district, Uttaradit province, were studied. Pollens of six cultivars, i.e. Long Lab-lae, Lin Lab-lae, Mon Thong, Chanee, Kan Yao and  Kradum Thong were stored at 0, 5 and 25 oC. Germination percentage of pollen, cultivated in the culture solution (10% w/v) was examined. The result showed that pollen could be stored at 0 oC for up to 36 days, and at 5 oC for up to 28 days, whereas those kept at 25 oC, deteriorated within 6 days of storage before absolute degeneration occurred. The pollen storage of cv. Mon Thong, Chanee and Kan Yao revealed the longest storage time.

Keywords: pollen viability, pollen storage, durian

Article Details

How to Cite
ใจกล้า พ. (2015). ความมีชีวิตและการเก็บรักษาละอองเรณูทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดอุตรดิตถ์. Journal of Science Ladkrabang, 24(1), 89–99. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/36797
Section
Research article