เปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกน้ำตาลทราบดิบของประเทศไทยโดยวิธีอนกรมเวลาและวิธีการวิเคราะห์การถอถอยเชิงเส้นพหุ

Main Article Content

ธวัชชัย เทพเปี่ยม
น้อมจิต กิตติโชติพาณิชย์

Abstract

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือ หาตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์ปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายดิบของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์อนุกรมเวลาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ โดยการวิเคราะห์อนุกรมเวลาใช้วิธีปรับให้เรียบเอ็กโปแนนเชียลแบบโฮลด์ วินเทอร์ วิธีแยกส่วนประกอบของอนุกรมเวลาแบบคลาสสิคและวิธีบ๊อกและเจนกินส์ สำหรับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ จะใช้เทคนิคการคัดเลือกตัวแปรอิสระ วิธีการเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) และนำสมการที่ได้มาเปรียบเทียบกันกับการวิเคราะห์อนุกรมเวลาโดยใช้ค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) ในการศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 ถึงเดือน ธันวาคม 2557 ผลการวิจัยพบว่าวิธีที่ดีที่สุดของการวิเคราะห์อนุกรมเวลาคือวิธีบ๊อกและเจนกินส์ได้ ให้ค่า MSE เท่ากับ 1.38294 x 1016 ส่วนวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ ได้ตัวแปรที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายดิบของประเทศไทยคือ ดัชนีการส่งน้ำตาลทรายดิบ ปริมาณการส่งออกกากน้ำตาลทราย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุเท่ากับ 0.78 ค่า MSE เท่ากับ 5.86x1015 ดังนั้นผลการเปรียบเทียบพบว่าวิธีที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายดิบของประเทศไทยคือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ

 

คำสำคัญ : ปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายดิบ, วิธีวิเคราะห์อนุกรมเวลา, วิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ

 

Abstract

 

The object of this research is to find the appropriate forecasting model for export quantity of rawsugar in Thailand using Time Series analysis and Multiple Linear Regression Analysis by Time Series using Hote-Winters Method, Classical Method and Box-Jenkins Method.  Multiple Linear Regression Analysis with Stepwise regression procedure for selecting the independent variables into the regression equation is used.  Mean Square Error (MSE) is used to compare the efficiency of these two methods.  The data set is the secondary data  collecting from office of Agricultural Economics, Office of the cane and Sugar Board, Bank of Thailand and Meteorological Department during January 2005 to December 2014. The best method of  Time Series Method is  Box-Jenkins  Method that MSE is 1.38294 x 1016.  For Multiple Linear Regression, the independent variables that have an affect on dependent variable are rawsugar of exporting index, quantity of exporting molasses, quantity of rainfall average Thailand which R2 is 0.78 and MSE is 5.86x1015. To compare the results of two methods, it was found that Multiple Linear Regression Analysis is the appropriate  Method for export quantity of Rawsugar in Thailand.

 

Keyword : exporting quantity of rawsugar, Time Series Method, Multiple Linear Regression Analysis

Article Details

How to Cite
เทพเปี่ยม ธ., & กิตติโชติพาณิชย์ น. (2016). เปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกน้ำตาลทราบดิบของประเทศไทยโดยวิธีอนกรมเวลาและวิธีการวิเคราะห์การถอถอยเชิงเส้นพหุ. Journal of Science Ladkrabang, 24(2), 77–92. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/47590
Section
Research article