ความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อประสิทธิภาพการสอน ของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยศึกษาใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการดำเนินการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านผลสัมฤทธิ์ จำแนกตาม เพศ ภาควิชาที่นักศึกษาสังกัด ชั้นปีของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 774 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.926 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package for the Social Science for Windows) ผลการวิจัยสรุปว่า 1) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ในแต่ละด้าน คือด้านการเตรียมการสอน ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการดำเนินการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านผลสัมฤทธิ์ และรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ในด้านการเตรียมการสอน และรวมทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการดำเนินการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านผลสัมฤทธิ์ ไม่แตกต่างกันด้วยความเชื่อมั่น 95 % 3) นักศึกษาที่สังกัดอยู่ภาควิชาต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ในด้านการใช้สื่อการสอน และรวมทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านการเตรียมการสอน ด้านการดำเนินการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านผลสัมฤทธิ์ ไม่แตกต่างกันด้วยความเชื่อมั่น 95 % 4) นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปีต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ในด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการดำเนินการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านผลสัมฤทธิ์ และรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านการเตรียมการสอน ไม่แตกต่างกันด้วยความเชื่อมั่น 95 % 4.1) นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปี 1 กับชั้นปี 3 ชั้นปี 1 กับชั้นปี 4 ชั้นปี 2 กับชั้นปี 3 และชั้นปี 2 กับชั้นปี 4 มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ในด้านการใช้สื่อการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปี 1 กับชั้นปี 4 และชั้นปี 2 กับชั้นปี 4 มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ในด้านการดำเนินการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.3) นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปี 1 กับชั้นปี 4 มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ในด้านผลสัมฤทธิ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ความคิดเห็น ประสิทธิภาพการสอน การเปรียบเทียบ คณะวิทยาศาสตร์
Abstract
The purposes of this research were to study and compare the opinions on instructional efficiencies of teachers from students in Faculty of Science King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, with the following five aspects : instructional design ; instruction that uses media ; teaching ; measurement and evaluation ; and achievement. According to these variables ; gender, department and class standing. The samples were 774 Students of the 2014 academic year. of Faculty of Science King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, selected by stratified random sampling. The 40 items of 5 rating scale questionnaire were used to conduct this research on the opinions on instructional efficiencies of teachers. The reliability of the questionnaire was 0.926. The data was analyzed by using SPSS for Windows (Statistical Package for the Social Science for Windows) program. The research findings were as follows : 1) Students had opinions on instructional efficiencies of teachers in each aspect namely instructional design, instruction that uses media, teaching, measurement and evaluation and achievement and overall at high level. 2) Students with different gender had statistically significant differences at .05 level in opinions on instructional efficiencies of teachers in instructional design and overall, but instruction that uses media, teaching, measurement and evaluation and achievement had shown no differences at 95 % confident. 3) Students with different department had statistically significant differences at .05 level in opinions on instructional efficiencies of teachers in instruction that uses media and overall, but instructional design, teaching, measurement and evaluation and achievement had shown no differences at 95 % confident. 4) Students with different class standing had statistically significant differences at .05 level in opinions on instructional efficiencies of teachers in instruction that uses media, teaching, measurement and evaluation and achievement and overall, but instructional design, had shown no differences at 95 % confident. 4.1) Students in freshman and junior, freshman and senior, sophomore and junior, and sophomore and senior had statistically significant differences at .05 level in opinions on instructional efficiencies of teachers in instruction that uses media. 4.2) Students in freshman and senior, and sophomore and senior had statistically significant differences at .05 level in opinions on instructional efficiencies of teachers in teaching. 4.3) Students in freshman and senior had statistically significant differences at .05 level in opinions on instructional efficiencies of teachers in achievement.
Keywords : opinions, instructional competencies, comparing, Faculty of Science