การเปรียบเทียบเทคนิคการเลือกตอบคำถามอย่างสุ่ม 2 วิธี เสนอโดย Warner และ Kuk

Main Article Content

ดลชาติ ตันติวานิช
พรชัย หลายพสุ

Abstract

เทคนิคการเลือกตอบคำถามอย่างสุ่มเป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการสำรวจข้อมูลที่มีลักษณะ ปกปิด (sensitive) โดยใช้เครื่องมือสุ่มเลือก เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการตอบคำถาม และความลับ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ยังคงไม่ถูกเปิดเผย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบเทคนิคการเลือกตอบ คำถามอย่างสุ่มที่ใช้ในการประมาณค่าสัดส่วนของประชากรที่มีลักษณะปกปิด (\inline \dpi{100} \pi) 2 วิธี คือ วิธีของ Warner และ วิธีของ Kuk โดยใช้ประสิทธิภาพสัมพัทธ์เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ เครื่องมือสุ่มเลือกของ Warner เป็นไพ่ 1 สำรับ ประกอบด้วยไพ่สีแดง และไพ่สีดำ โดยที่สัดส่วนของไพ่สีแดง (p1) ได้ กำหนดไว้ล่วงหน้า สำหรับวิธีของ Kuk ประกอบด้วยไพ่สีแดง และสีดำ 2 สำรับ โดยกำหนด สัดส่วนของไพ่สีแดงในไพ่สำรับที่หนึ่งเท่ากับวิธีของ Warner และ สัดส่วนของไพ่สีแดงในสำรับที่ สองเท่ากับ p2 การวิจัยครั้งนี้ใช้ p1 = 0.6, 0.7, 0.8, 0.9 และ p2 = 0.1, 0.2, 0.3,..., 0.9 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ที่ p= 0.6, 0.7, 0.8 และ p2 = 0.1 วิธีของ Kuk สามารถนำไปใช้ประมาณ ค่าสัดส่วนของประชากรที่มีลักษณะปกปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีของ Warner ทุกค่า \inline \dpi{100} \pi ส่วน วิธีของ Warner จะมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีของ Kuk ที่ p1 = 0.6, 0.7, 0.8 และ p2 = 0.5 ทุกค่า \inline \dpi{100} \pi สำหรับ p1 ที่ 0.9 วิธีของ Warner มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีของ Kuk ทุกค่า p2 ยกเว้น เมื่อ p2 = 0.1 ทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพเท่ากัน

 

Comparison of two Randomized Response Techniques proposed by Warner and Kuk

Randomized response techniques are used in survey dealing with sensitive characteristics to increase respondent cooperation on the confidentiality of their responses by using randomizing device. The objective of this study is to compare two Randomized Response Techniques proposed by Warner and Kuk in order to estimate population proportion with sensitive characteristics (\inline \dpi{100} \pi) by using Relative Efficiency (RE). Warner’s randomizing device is a deck of red and black cards in which the proportion of red cards (p1) is given in advance. Kuk’s randomizing device is comprised of 2 decks of red and black cards. The proportion of red cards in the first deck is the same as Warner’s and the proportion of red cards in the second deck is p2 . In this study, Using p1 = 0.6, 0.7, 0.8, 0.9 and p2 = 0.1, 0.2, 0.3,..., 0.9. The results of this study can be summarized as follows. For p1 = 0.6, 0.7, 0.8, 0.9 and p2 = 0.1 , Kuk’s method is more efficient than Warner’s method for all values of \inline \dpi{100} \pi . Warner’s method is more efficient than Kuk’s method when p1 = 0.6, 0.7, 0.8, 0.9 and p2 = 0.5 for all values of \inline \dpi{100} \pi . When p1 = 0.9, Warner’s method is more efficient than Kuk’s method for all p2 except for p2 = 0.1 , the two methods have the same efficiency.

Article Details

How to Cite
ตันติวานิช ด., & หลายพสุ พ. (2009). การเปรียบเทียบเทคนิคการเลือกตอบคำถามอย่างสุ่ม 2 วิธี เสนอโดย Warner และ Kuk. Journal of Science Ladkrabang, 18(1), 13–21. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/99922
Section
Research article