การพัฒนาเครื่องกลเติมอากาศปล่องลมแดดเพื่อบำบัดน้ำเสีย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้พัฒนาเครื่องกลเติมอากาศปล่องลมแดดเพื่อบำบัดน้ำเสีย เครื่องกลเติมอากาศปล่อง ลมแดดใช้ยางรถยนต์ใช้แล้วเป็นปล่องมีความสูง 4.70 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.35 เมตร บนฐานก่อ คอนกรีตบล็อกสูง 0.57 เมตร ได้ศึกษาช่องเปิดทางเข้าของปล่องลมแดด 9 กรณี การเก็บข้อมูล ประกอบด้วย อุณหภูมิอากาศแวดล้อม ความเข้มรังสีอาทิตย์ อุณหภูมิและความเร็วของอากาศ ตำแหน่งต่างๆ ภายในปล่องลมแดด ผลการทดลองพบว่าช่วงกลางวันพลังงานแสงอาทิตย์ให้ความ ร้อนกับอากาศภายในปล่องทำให้เกิดอากาศลอยตัว ขนาดที่เหมาะสมของช่องเปิดทางเข้าปล่องลม แดดมีขนาด 35x19 cm2 โดยเปิดสองด้านจากพื้นดิน ความแตกต่างอุณหภูมิระหว่างทางออกปล่องลม แดดกับอุณหภูมิอากาศแวดล้อมได้ถึง 6.25 ± 5.53 oC และความเร็วอากาศเฉลี่ยของทางออกปล่องลม แดดคือ 0.066 ± 0.018 kg/s (0.56 ± 0.15 m/s) ข้อมูลที่ได้นำมาออกแบบโดยใช้ลูกหมุนระบายอากาศ หมุนกังหันตีน้ำ ผลการทดสอบพบว่าต้นแบบเครื่องกลเติมอากาศปล่องลมแดดไม่ทำงาน ดังนั้น งานวิจัยต่อไปทำการพัฒนาระบบกลไกสำหรับการหมุนกังหันตีน้ำเติมอากาศ
Development of a Solar Chimney Aerator for Treating Polluted Water
This research developments a solar chimney aerator for treating waste water. The aerator consisted of a number of wasted tires as a chimney has a height of 4.70 meters and a diameter of 0.35 meters on two concrete block foundation walls with a height of 0.57 meters. The solar chimney inlet openings 9 cases were studied. Data collection included ambient air temperature, solar radiation intensity, temperature and velocity at various positions of air in the solar chimney. The experiments indicated that during the day time the solar energy heats the chimney building up the draft air. The appropriate area of the bottom inlet openings is 35x19 cm2 (two inlet openings). Temperature difference between the solar chimney outlet and ambient air temperature can reach 6.25 ± 5.53 oC and the average mass flow rate of air is 0.066 ± 0.018 kg/s (0.56 ± 0.15 m/s). The obtained information was designed using a roof ventilator-driven paddlewheel aerator. The test results should that the prototype could not operate. Therefore, the next research will be developing the mechanical system for paddlewheel aerator driving.