การศึกษาจุลินทรีย์ในดินไร่อ้อยที่มีบทบาทในการย่อยสลายเศษใบอ้อย

Main Article Content

พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี

Abstract

การแยกจุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสจากตัวอย่างดินในไร่อ้อย 3 แหล่ง คือ นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี บนอาหาร carboxymethyl cellulose agar ที่อุณหภูมิ 30-32 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาสามารถแยกจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิ 30-32 องศาเซลเซียส ได้ทั้งหมด 78 ไอโซเลต และแยกที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ทั้งหมด 18 ไอโซเลต เมื่อนำจุลินทรีย์ ที่แยกได้ไปทดสอบความสามารถในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสโดยวิธี congo red test จุลินทรีย์ที่ อุณหภูมิ 30-32 องศาเซลเซียส ทั้งหมด 78 ไอโซเลต พบว่ามี 11 ไอโซเลตที่สามารถสร้างเอนไซม์ เซลลูเลส และจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ทั้งหมด 18 ไอโซเลต พบว่ามีเพียง 3 ไอโซเลต สามารถสร้างเอนไซม์เซลลูเลสได้ จากการทดสอบความสามารถในการเจริญที่อุณหภูมิ 30 - 32 , 45, 50 และ 55 องศาเซลเซียสบนอาหารเลี้ยงเชื้อ CMC agar เป็นเวลา 5 วัน พบว่า แหล่งดินสุพรรณบุรี พบเชื้อราที่อุณหภูมิ 30 -32 องศาเซลเซียส จำนวน 5 ชนิด คือ Trichoderma harzianum, Aspergillus terreus, Aspergillus flavus, Fusarium semitectum และ Penicillium citrinum และที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส พบแอคติโนมัยซิส 2 ชนิด คือ Streptomyces sp. และ Nocardia sp. ส่วนแหล่งดิน นครปฐมพบเชื้อราที่อุณหภูมิ 30 - 32 องศาเซลเซียส จำนวน 4 ชนิด คือ Penicillium citrinum, Mucor ramosissimus, Aspergillus penicillioides และ Bipolaris spicifera และที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส พบ 1 ชนิด คือ Penicillium purpurogenum และแหล่งดินราชบุรี พบเชื้อราที่อุณหภูมิ 30 - 32 องศา เซลเซียส เพียงชนิดเดียว คือ Aspergillus niger เมื่อศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยเศษใบอ้อยของ เชื้อราคัดเลือกที่อุณหภูมิ 30-32 องศาเซลเซียส ภายในห้องปฏิบัติการ พบว่า เชื้อรา Penicillium citrinum. มีประสิทธิภาพในการย่อยเศษใบอ้อยสูงสุด รองลงมาคือเชื้อรา Aspergillus terreus, Aspergillus flavus และ Bipolaris spicifera ส่วนเชื้อราที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ทุกไอโซเลต ประสิทธิภาพในการย่อยเศษใบอ้อยต่ำมาก

 

Study on Soil Microorganisms from Sugarcane Field on Sugarcane Leaves Decomposition

Soil microorganisms of 3 various samples from soil in sugarcane field were isolated on carboxy methyl cellulose agar at 30 - 32 0C and 45 oC. The result could selected that 78 isolates at 30-32 oC and 18 isolates at 45 oC. All of them were examined for cellulase production activity by stain with congo red on Cellulose agar. The result showed that 11 out of 78 isolates could produce cellulase at 30 – 32 oC and the result was showed that 3 out of 18 isolates could produce cellulase at 45 oC. The results of studied about factors and condition on growth of fungi at 30 – 32 oC optimum temperature showed that 5 species of Trichoderma harzianum, Aspergillus terreus, Aspergillus flavus, Fusarium semitectum and Penicillium citrinum in Suphanburi, Penicillium citrinum, Mucor ramosissimus, Aspergillus penicillioides and Bipolaris spicifera in Nakhon Pathom and Aspergillus niger in Ratchburi. At 45 oC were founded Streptomyces sp. and Nocardia sp. in Suphanburi and Penicillium purpurogenum in Nakhon Pathom. When studied potential of digestion sugarcane leaves from selected fungi at 30 - 32 oC in laboratory, the Penicillium citrinum gave the highest digest and Aspergillus terreus, Aspergillus flavus and Bipolaris spicifera respectively. Every isolates at 45 oC gave the lowest digestion.

Article Details

How to Cite
ป้อมปราณี พ. (2009). การศึกษาจุลินทรีย์ในดินไร่อ้อยที่มีบทบาทในการย่อยสลายเศษใบอ้อย. Journal of Science Ladkrabang, 18(1), 42–51. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/99943
Section
Research article