ผลของเศษด้ายไหมต่อสัณฐานวิทยาและสมบัติของโฟมพอลิยูริเทนชนิดแข็ง

Main Article Content

มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์
จิรวดี มหาปทุม
วาสนา แสนบัวหลวง

Abstract

ใช้เศษด้ายไหมซึ่งเป็นของเสียจากอุตสาหกรรมตกแต่งเส้นไหมเป็นสารตัวเติมอินทรีย์ใน โฟมพอลิยูริเทนชนิดแข็งปริมาณ 5-30 กรัม สัดส่วนโดยน้ำหนักของไอโซไซยาเนตต่อพอลิออล เป็น 50 : 43 และใช้การผสม 2 วิธี วิธี A ผสมเศษด้ายไหมกับพอลิออลก่อนแล้วจึงเติมไอโซไซยาเนต ส่วนวิธี B ผสมเศษด้ายไหมกับไอโซไซยาเนตก่อนแล้วจึงเติมพอลิออล ผลการทดลองแสดงให้เห็น ว่าการเพิ่มปริมาณเศษด้ายไหมทำให้ความหนาแน่นและการดูดซึมน้ำของโฟมพอลิยูริเทนเพิ่มขึ้น แต่ ขนาดรูพรุน ความทนทานต่อแรงกดอัด และค่ามอดุลัสกดอัดของโฟมลดลง การย่อยสลายของโฟม พอลิยูริเทนเร็วขึ้น โดยในเวลา 3 เดือนหลังฝังกลบในดินน้ำหนักโฟมพอลิยูริเทนลดลง 14% เทียบ กับโฟมที่ไม่ผสมเศษด้ายไหม พบว่าการเตรียมโฟมพอลิยูริเทนทั้งแบบวิธี A และ B ให้ผลใน ลักษณะเดียวกัน

 

Effect of Silk Yarn Residues on Morphology and Properties of Rigid Polyurethane Foam

Silk yarn residues was used as organic filler in rigid polyurethane foam at 5-30 grams of polyurethane. Ratios of isocyanate and polyol was 50 : 43 and 2 methods of mixing were studied. Method A, premixed silk yarn residues with polyol then added isocyanate. Method B, premixed silk yarn residues with isocyanate then added polyol. The results showed that increasing silk yarn residues led to increase density and water absorption of polyurethane foam. However, pores size, compressive strength and compressive modulus of foam were decreased. Under burial in soil for 3 months, silk yarn mixed polyurethane foam lose weight 14% compare to unmixed silk yarn foam. Moreover, preparation polyurethane foam by method A and method B showed the similar results.

Article Details

How to Cite
ชัยศุภกิจสินธ์ ม., มหาปทุม จ., & แสนบัวหลวง ว. (2009). ผลของเศษด้ายไหมต่อสัณฐานวิทยาและสมบัติของโฟมพอลิยูริเทนชนิดแข็ง. Journal of Science Ladkrabang, 18(1), 67–79. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/99947
Section
Research article