การเปรียบเทียบอัตราความผิดพลาดต่อวงศ์การทดสอบของวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณสำหรับแผนแบบบล็อกสมบูรณ์เชิงสุ่มภายใต้การแจกแจงเบ้ซ้าย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการควบคุมอัตราความผิดพลาดต่อวงศ์การทดสอบของวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณในแผนแบบบล็อกสมบูรณ์เชิงสุ่มจำนวน 5 วิธี ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญน้อยสุด (Fisher’s Least Significant Difference) การทดสอบพิสัยพหุคูณของดันแคน (Duncan’s Multiple Range Test) การทดสอบของนิวแมน-คูลส์ (Newman-Keuls test) การทดสอบนัยสำคัญตรงของทูคีย์ (Tukey’s honesty significant difference test) และการทดสอบของเชฟเฟ (Scheffe’s test) โดยศึกษาภายใต้ข้อมูลที่มีการแจกแจงเบ้ซ้าย โดยมีจำนวนทรีตเมนต์และจำนวนบล็อกที่ศึกษาเท่ากับ 3, 4 และ 5 ทำการจำลองข้อมูลด้วยวิธีมอนติคาร์โลจำนวน 10,000 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า การทดสอบนัยสำคัญตรงของทูคีย์ และการทดสอบของนิวแมน-คูลส์ สามารถควบคุมอัตราความผิดพลาดต่อวงศ์การทดสอบได้ในทุกกรณีที่ทำการศึกษา สำหรับการทดสอบพิสัยพหุคูณของดันแคน การทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญน้อยสุด และการทดสอบของเชฟเฟเป็นการทดสอบที่ไม่สามารถควบคุมอัตราความผิดพลาดต่อวงศ์การทดสอบได้ โดยการทดสอบพิสัยพหุคูณของดันแคนมีลักษณะเชิงก้าวหน้ามากที่สุดและการทดสอบของเชฟเฟมีลักษณะเชิงอนุรักษ์มากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal
References
น้ำฝน นาสวาสดิ์, สุวิมล ว่องวาณิช, กนิษฐ์ ศรีเคลือบ. การวิเคราะห์สมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 2560;12:202-14.
Lisa ML, Keselman HJ. To Trim or Not to Trim: Tests of Location Equality Under Heteroscedasticity and Nonnormality. Educational and Psychological Measurement 1998;58:409-29.
Blanca MJ, Alarcon R, Arnau J, Bono R, Bendayan R. Non-normal data: Is ANOVA still a valid option?. Psicothema 2017;29:552-7.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบรวมเพื่อการวิจัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2560;9:51-70.
ธนพงศ์ ก้องนภาสันติกุล, ธวัชชัย แตงทอง, ธารทิพย์ โนภาศ,นัฐกานต์ ปัตติสัย, สายชล สินสมบูณ์ทอง. การเปรียบเทียบความน่าจะเป็นของความผิดพลาดแบบที่ 1 และกำลังการทดสอบของตัวสถิติทดสอบในการเปรียบเทียบพหุคูณระหว่างการทดสอบอิงพารามิเตอร์และไม่อิงพารามิเตอร์ของแผนแบบบล็อกสมบูรณ์เชิงสุ่ม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561;26:377-92.
นิภาพร ขำสอาด. อํานาจการทดสอบของการใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
ปุณยนุช พินชู, สุชาดา บวรกิติวงศ์. การเปรียบเทียบค่าคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของวิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่สำหรับแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 2550;20:331-51.