การใช้ประโยชน์จากมัลเบอร์รีเพื่อลดการอมน้ำมันในโรตีกรอบ

Main Article Content

สุรีย์พร กังสนันท์
สุนิสา พรหมนุ้ย
เสาวลักษณ์ รักหอม
อัมรีนา เถาวัลย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้น้ำมัลเบอร์รีเข้มข้น (5°brix) แทนน้ำเปล่าในสูตรโรตีกรอบ (ร้อยละ 0, 20, 40, 60, 80 และ100) และนำกากมัลเบอร์รีที่เหลือจากการคั้นน้ำมาอบแห้งเป็นมัลเบอร์รีผงและใช้ทดแทนแป้งสาลีบางส่วนเพื่อลดการอมน้ำมันในโรตีกรอบ โดยศึกษาปริมาณมัลเบอร์รีผงที่ระดับร้อยละ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 ของปริมาณแป้งสาลี จากนั้นศึกษาลักษณะทางกายภาพ ทางเคมีและทดสอบทางประสาทสัมผัส ผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำมัลเบอร์รีในโรตีกรอบทำให้แนวโน้มค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ของผลิตภัณฑ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม การทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยวิธี 9-point hedonic scale พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบผลิตภัณฑ์โรตีกรอบที่ใช้น้ำมัลเบอร์รีร้อยละ 80 เทียบเท่ากับสูตรควบคุม (p>0.05) ในทุกคุณลักษณะที่ทำการทดสอบ การศึกษาปริมาณมัลเบอร์รีผงในผลิตภัณฑ์โรตีกรอบ ผลการศึกษาพบว่า มัลเบอร์รีผงมีความชื้นร้อยละ 5.79 มีความสามารถในการอุ้มน้ำ 5.15 g water/ g dry sample ความสามารถในการอุ้มน้ำมัน 1.75 g oil/ g dry sample การเพิ่มขึ้นของปริมาณมัลเบอร์รีผงทำให้ค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ของโรตีกรอบลดลง ในขณะที่ค่าความกรอบ (Crispness) เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อค่าความแข็ง (Hardness) และการใช้มัลเบอร์รีผงตั้งแต่ร้อยละ 6 ขึ้นไป สามารถลดการอมน้ำมันได้สูงที่สุดที่ร้อยละ 69.49 เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม การทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่าผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบโรตีกรอบที่มีมัลเบอร์รีผงร้อยละ 10 สูงกว่าโรตีกรอบสูตรควบคุม โดยเฉพาะคุณลักษณะด้านกลิ่นรส รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม

Article Details

บท
Articles

References

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนโรตีกรอบ (มผช 503/2557). [อินเทอร์เน็ต]. 2547. เข้าถึงได้จาก: http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps503_47.pdf.

สิริมา ชินสาร, สุชานันท์ นุชสมาน, อัจฉราพร ด้วยวงค์. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปาท่องโก๋ไขมันต่ำโดยใช้เปลือกเงาะเป็นสารลดการดูดซับน้ำมัน. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 2562;2:64-81.

นิภาพร แสงจู, ชุลีพร พุฒนวล, วนิดา พงษ์ศักดิ์ชาติ, กุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์, อาภัสรา แสงนาค. การเติมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าวเพื่อลดการอมน้ำมันในผลิตภัณฑ์ปาท่องโก๋. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 2551;3:513-21.

ฟารียา กุลพิจิตร, อาณดี นิติธรรมยง, สมเกียรติ์ โกศัลวัฒน์. การสกัดใยอาหารจากไหมข้าวโพดและการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 2558;1:19-34.

Zhang H, Ma ZF, Luo X, Li X. Effects of Mulberry Fruit (Morus alba L.) Consumption on Health Outcomes: A Mini-Review. Antioxidant 2018;69:1-13.

Tongmai J. Chupeeruch C. Suttisansanee U. Chamchan R. Khemthong C. On-nom N Development of anthocyanin-rich jelly by Thai mulberry (Morus alba) fruit powder. In International Conference on 4th Industrial Revolution and Its Impacts; 27-30 March 2019; Walailak University. Nakorn Sri Thammarat. p.1

วันณา เถาวัลย์. สูตรโรตีกรอบ. สัมภาษณ์. 2563.

AOAC. Official Methods of Analysis(17thed.). Gaithersburg, MD: Association of Official Analytical Chemists; 2000

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ. การผลิตและคุณสมบัติของใยอาหารจากเปลือกส้มโอเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 23 – 24 ตุลาคม 2551; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม. หน้า 1-12.

เอื้อการย์ ด่านชัยประเสริฐ, พีรนาฏ คิดดี, วิกาญดา ทองเนื้อแข็ง, ชามาดา ชัยเจริญ. ประสิทธิภาพของกงในการดูดซับน้ำมัน. PSRU Journal of Science and technology 2018;3:35-45.

บงกชรัตน์ เนาวกุล, Tri Indrarini Wirjantoro, อภิรักษ์ เพียรมงคล. ผลของความเร็วและระยะเวลาในการบดเปียกต่อสมบัติของเส้นใยอาหารผงจากเปลือกส้มโอ. Food and Applied Bioscience Journal 2556;1:34-48.

Jiamjariyatam R. Use of riceberry bran to reduce oil absorption in puffed cracker. International Food Research Journal 2019;2:441-50.

Kim Y, Kim Y, Bae IY, Lee HG, Hou GG, Lee S. Utilization of preharvest-dropped apple powder as an oil barrier for instant fried noodles. LWT - Food Science and Technology 2013;53:88-93.