การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของจาวตาลโตนดในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล

บทคัดย่อ

จาวตาลสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของจาวตาลที่ได้จากการเพาะ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ตัดก้านใบเลี้ยง(ไม่บ่ม) ระยะที่ 2 ตัดก้านใบเลี้ยงและบ่ม 10 วัน ระยะที่ 3 ตัดก้านใบเลี้ยงและบ่ม 20 วันและระยะที่ 4 ตัดก้านใบเลี้ยงและบ่ม 30 วัน เปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีกับจาวตาลควบคุมที่จำหน่ายตามท้องตลาด โดยวิเคราะห์หาปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เส้นใย เถ้า คาร์โบไฮเดรต และความแน่นเนื้อ ผลการวิจัยพบว่าจาวตาล 4 ระยะมีองค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วยความชื้น 73.13-80.02% โปรตีน 4.40-5.49% ไขมัน 0.02-0.08% เส้นใย 2.83-5.89% เถ้า 4.51-6.10% คาร์โบไฮเดรต 3.06-13.46% และความแน่นเนื้อ 0.60-0.75 N/mm และพบว่าจาวตาลระยะที่ 1 และ 2 มีความชื้น เส้นใยและเถ้าสูงกว่าจาวตาลควบคุมแต่มีปริมาณโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าจาวตาลควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และพบว่าจาวตาลระยะที่ 3 และ 4 มีองค์ประกอบทางเคมีไม่แตกต่างจากจาวตาลควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นปริมาณโปรตีนและความแน่นเนื้อที่มีค่าต่ำกว่าจาวตาลควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นจาวตาลระยะที่ 3 ที่ได้จากการตัดก้านใบเลี้ยงและบ่ม 20 วันจึงเป็นจาวตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกับจาวตาลควบคุมมากที่สุด จากผลการวิจัยนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาการเพาะจาวตาลและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากจาวตาลต่อไป

Article Details

บท
Articles

References

Morton JF. Notes distribution on propagation, and products of Borassus palms (Arecaceae). Economic Botany 1988;42(3):420-41.

เจือจันทร์. ด่านสืบสกุล. ศึกษาการผลิตอาหารจากตาลโตนดของชาวบ้านอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2546.

สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา. ตาลโตนดสงขลา. สงขลา: สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา; 2542.

สมเกียรติ ขันอ่อน. การพัฒนาและการผลิตสารสกัดจากไม้พะยอมในรูปแบบผงเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลสดจากตาลโตนด. [อินเทอร์เน็ต]. 2552. เข้าถึงได้จาก: https://puechkaset.com/ตาลโตนด/

สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี. ลักษณะทั่วไปของตาลโตนด. [อินเทอร์เน็ต]. 2545. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/sanaymuangpetch/home/general-palmsugar.

ไพฑูรย์ ศิริรักษ์. 100 ประโยชน์ตาลโตนดไทย ผลผลิตวัฒนธรรมชุมชนบนคาบสมุทรสทิงพระ. สงขลา:เทมการพิมพ์; 2553.

Naguleswaran ST, Vasanthan R, Hoover, Q. Liu. Structure and physicochemical properties of palmyrah (Borassus flabellifer L.) seed-shoot starch grown in Sri Lanka. Food Chemistry 2010;118:634-40.

AOAC. Official Method of Analysis of AOAC International. 17th ed. The Association of Official Analytical Chemists, Virginia; 2000.

Ratheesh CP. Physiology and biochemistry of seed development and germination in Borassus flabellifer L. Ph. D. Thesis. India: University of Calicut; 2012.

นงนุช วงศ์สินชวน, มนูญ ศิรินุพงศ์. การศึกษาน้ำหนักสดและสารอาหารในจาวตาลที่อายุการบ่มต่างกัน. วารสารวิชาการเกษตร 2557;32(3):268-75.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล, จันทนา ก่อนเก่า, กมลพร ประเสริฐพันธ์, ภัทธิรา อินพรม, เอกรินทร์ ราชพลแสน. การศึกษาสารพฤกษเคมี ปริมาณฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของจาวตาล. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2; มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.กรุงเทพฯ; 2562;หน้า 98-105.