การพัฒนาชุดต้นแบบระบบตรวจวัดแสง อุณหภูมิ และความชื้น ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ผ่านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IOT) สำหรับแปลงผักยกโต๊ะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อพัฒนาชุดต้นแบบระบบตรวจวัดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งสำหรับแปลงผักยกโต๊ะ 2). เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้ชุดต้นแบบระบบตรวจวัดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งสำหรับแปลงผักยกโต๊ะ เครื่องมือและวิธีการพัฒนาประกอบด้วย 1). ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) ชุดวงจรไมโครคอนโทลเลอร์ (Micro controller unit: MCU) และเซนเซอร์พืช (Plant sensor) 2). แบบประเมินประสิทธิภาพชุดต้นแบบระบบตรวจวัดแสง อุณหภูมิ ความชื้น แปลงผักยกโต๊ะผ่านอินเทอร์เน็ตและการพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web application) ใช้เวลาการทดลอง 1 รอบการปลูก กลุ่มผู้ทดลองใช้ชุดต้นแบบระบบฯ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และเกษตรกรผู้เข้าศึกษาดูงาน ฐานการเรียนรู้แปลงผักยกโต๊ะกางมุ้ง ศูนย์เรียนรู้การเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นพื้นที่ทดสอบระบบตรวจวัดฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุดต้นแบบระบบตรวจวัดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ควบคุมการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งสำหรับแปลงผักยกโต๊ะสามารถใช้ทำงานตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ทั้ง 5 ชุด 2) ประสิทธิภาพการใช้ชุดต้นแบบระบบตรวจวัดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ในทุกสิ่งสำหรับแปลงผักยกโต๊ะของผู้ใช้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.50) สามารถนำค่าที่ตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แต่ละรอบการปลูกไปใช้ตัดสินใจในการเพาะปลูกผักยกโต๊ะ ช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูก และควรนำต้นแบบที่ได้พัฒนาไปดำเนินการถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกรให้เพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal
References
Zanella A, Bui N, Castellani A, Vangelista L, Zorzi M. Internet of Things for Smart Cities. EEE Internet Things J 2014;1:22-32.
Popovic T, Latinovic N, Pesic N, Zecevic Z, Krstajic B, Djukanovic S. Architecting an IoT-enabled platform for precision agriculture and ecological monitoring: A case study. Comput Electron Agric 2017;140:255-265.
Zamora-Izquierdo MA, Santa J, Martı´nez JA, Martınez M, Skarmeta AF. Smart farming IoT platform based on edge and cloud computing. Biosyst Eng 2019;177:4-7.
Hobart M, Pflanz M, Weltzien C, Schirrmann M. Growth height determination of tree walls for precise monitoring in apple fruit production using UAV photogrammetry. Remote Sens 2020;12:1656:1-17. doi.org/10.3390/rs12101656.
Yang S, Zheng L, Gao W, Wang, Hao X, Mi J, Wang M. An efficient processing approach for colored point cloud-based high-throughput seedling phenotyping. Remote Sens 2020;12:1540:1-21. doi.org/10.3390/rs12101540.
Saiysing J. The development of smart farm solution machine in a community enterprise: A group of growers and the rainbow mango processing, Ban Nong Bua Chum, Tambon Nong Hin, Nong Kung Sri district, Kalasin province. SNRUJST 2021;13:11-9.
Ongate N. Prototype design of solar soil moisture controller to be used as an alternative energy for agriculture against the growth of vegetables in Khao Kho district, Phetchabun province. SNRUJST 2021;13:20-8.
อัตภาพ มณีเติม, นวรัตน์ ประทุมตา, วัชรีย์ กิ่งทอง. การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แหล่งเพาะปลูกพืชและไม้ผล เพื่อการผลิตอาหารและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดเพชรบุรี. JIT 2563; 2:1-18. doi.org/10.14456/jait.2020.1.