การพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน

Main Article Content

มริษา สุดอุดม
ภัทรา สวนโสกเชือก

บทคัดย่อ

การพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน 2) เพื่อประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน พัฒนาแอปพลิเคชันตามวงจรการพัฒนาระบบ SDLC โดยใช้ภาษาพีเอชพี ในการเขียนโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน 2) แบบประเมินคุณภาพ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาได้แอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านความสามารถตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านความถูกต้องในการทำงานตามหน้าที่ของระบบ ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ด้านความรวดเร็วในการทำงาน และด้านการรักษาความปลอดภัย พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 จากนั้นศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างเป็นคนในชุมชน จำนวน 100 คน พบว่าผลประเมินอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71

Article Details

บท
Articles

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2559. กรุงเทพมหานครฯ; 2560.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่นี่ปลอดขยะ. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2559.

เชษฐ อุปมา. การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2559.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี. รายงานฐานข้อมูลขยะมูลฝอย ประกอบด้วย 5 จังหวัด จังหวัดยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และ อุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:https://www.mnre.go.th/ckeditor/upload/files/id164/pdf/garbage2560.pdf

นิติธร วรรณกลัด. การประเมินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล บริษัทหาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ตามแนวทางการประเมินเชิงสมดุล [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2553.

ธานินทร์ ศิลป์จาร. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2549.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ , ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช. การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด; 2541.

Best JW. Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall; 1981.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่องานวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพนฤมิตรการพิมพ์; 2541.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน; 2555.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน; 2560.

พัชราภรณ์ หงษ์สิบสอง, ภัทธีรา ธุระยศ, พสิษฐ์ กันละนนท์. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2564;18:73-86.

วันดี พิชิต, บุษบง สกรณ์, ดวงคำ เสกสิทธิ์. การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรผ่านระบบ คิวอาร์โค้ด ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์; 2562. เลขที่รายงาน 2016-09-30.