ผลของตัวทำละลายต่างชนิดที่ใช้ในการสกัดลำต้นโคลงเคลงต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมี

Main Article Content

รัตนา วงศ์ชูพันธ์
พิณพิศา เทพราช
กมลชนก สุริยมาตร
เพ็ญนภา ชูยงค์
แน่งน้อย แสงเสน่ห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระปริมาณฟีนอลและฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดหยาบของลำต้นโคลงเคลงที่ได้จากการใช้ตัวทำละลายชนิดต่าง ๆ การหาปริมาณของปริมาณฟีนอลและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TPC และ TFC) จะตรวจวัดโดยวิธีคัลเลอริเมตรีด้วยรีเอเจนต์ Folin-Ciocalteu และอะลูมินัมคลอไรด์ ตามลำดับ ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทดสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay ผลการตรวจสอบชนิดของสารพฤกษเคมีเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบในลำต้นโคลงเคลง พบฟลาโวนอยด์ คูมาริน แทนนิน เทอร์พีนอยด์ สเตียรอยด์ และไกลโคไซด์ในสารสกัดทั้งหมด การสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีร้อยละผลผลิตและปริมาณฟีนอลิกน้อยกว่าการสกัดด้วยตัวทำละลายที่มีขั้วต่ำกว่า แต่เอทานอลสามารถสกัดฟลาโวนอยด์ได้ปริมาณสูงสุด 1,793±16 มิลลิกรัมสมมูลเควอซิตินต่อกรัมของสารสกัด และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 107 มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่สารสกัดแอซีโตน มีร้อยละการสกัดสูงสุด 3.50 และปริมาณฟีนอลิก 2,421±14 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด โดยสรุป การสกัดสารพฤกษเคมีสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเป็นผลมาจากการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมโดยมีขั้วปานกลางถึงสูง

Article Details

บท
Articles

References

Clausing G, Renner SS. Molecular phylogenetics of Melastomataceae and Memecylaceae: Impications for character evolution. Am J Bot 2001;88:486-98.

Joffry SM, Yob NJ, Rofiee MS, Affandi MM, Suhaili Z, Othman F, et al. Melastoma malabathricum (L.) Smith ethnomedicinal uses, chemical constituents, and pharmacological properties: A Review. Evid Based Complementary Altern Med 2012:258434.

Wong KM. Studies in Southeast Asian Melastoma (Melastomataceae), Morphological variation in Melastoma malabathricum and notes on rheophytic taxa and interspecific hybridisation in the genus. Gard Bull Singapore 2015;67:387-401.

กล่าวขวัญ ศรีสุข, สาวินีย์ สีมาขันธ์, ปริยาภา เกตุกูล, เอกรัฐ ศรีสุข, กาญจนา หริ่มเพ็ง, เบญวรรณ ชิวปรีชา, และคณะ. ฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรบางชนิดในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี. ววบ2560:304-11.

ศิริพรรณ สุขขัง, ชมนาถ เกิดคง, ไพร มัทธวรัตน์, เนตรชนก นุ้ยสีรุ่ง. ปริมาณแอนโทไซยานิน สารประกอบฟีนอลิก และนํ้าตาลของผลโคลงเคลง (Melastoma malabathricum L.) จากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศไทย. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 56 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 6-9 กุมภาพันธ์ 2561; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: 2561. หน้า 274-81.

อาอีเซาะส์ เบ็ญหาวัน, สุนีย์ แวมะ. การศึกษาสารประกอบฟีนอลิกในสารสกัดจากต้นโคลงเคลงด้วยเทคนิค HPTLC และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย 2564;6:81-90.

Ang SS, Molyde C. การศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์การต้านเชื้อ Escherichia coli จากสารสกัดหยาบใบ และกิ่งจากต้นโคลงเคลง ชะมวง บุหงาส่าหรี และพิลังกาสา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2563

ก่องกานดา ชยามฤต. ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

เนตรชนก นุ้ยสีรุ่ง, ไพร มัทธวรัตน. ชีววิทยาของดอกและการพัฒนาการของผลโคลงเคลงสายพันธุ์กลีบดอกสีขาว.เรื่องเต็มการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14; 7-8 ธันวาคม 2560; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม. 2560. หน้า 2485-91.

ศรินรัตน์ ฉัตรธีระนันท์, วรางคณา สบายใจ, สิริมาส นิยมไทย. การทดสอบองค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของใบข่อยดำ. ว วิทย มข 2556;41:723-30.

Trease GE, Evans WC. Phytochemicals. In: Evans WC, Evans D, Trease GE, editors. Trease and Evans’ Pharmacognosy, 15th ed. Edinburgh: WB Saunders; 2002. p. 42-393.

Ayoola GA, Coker HAB, Adesegun SA, Adepoju-Bello AA, Obaweya K, Ezennia EC, et al. Phytochemical screening and antioxidant activities of some selected medicinal plants used for Malaria therapy in southwestern Nigeria. Trop J Pharm Res 2008;7:1019-24.

Joshi A, Bhobe M, Saatarkar A. Phytochemical investigation of the roots of Grewia microcos Linn. J Chem Pharm Res 2013;5:80-7.

Singleton VL, Orthofer R, Lamuela-Raventós R. Analysis of total phenols and other oxidation substrates and antioxidants by means of folin-ciocalteu reagent. Meth Enzymol 1999;299:152-78.

ภาศิริ ม่วงศิริกุล. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบฟีนอลรวมของสารสกัดอินทผลัม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2562.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล, พิชิต สุดตา. ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ปริมาณฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และแอลคาลอยด์ของสารสกัดลำต้นนกกระลิงแดง. ว วิทย มข 2560;45:531-42.

Brand-Williams W, Cuvelier ME, Berset C. Use of a free radical method to evaluate antioxidant activity. LWT-Food Sci Technol 1995;28:25-30.

Abubakar AR, Haque M. Preparation of Medicinal Plants: Basic Extraction and Fractionation Procedures for Experimental Purposes. J Pharm Bioallied Sci 2020;12:1–10.

Zakaria ZA, Raden Mohd Nor RNS, Hanan Kumar G, Abdul Ghani ZDF, Sulaiman MR, Rathna Devi G, et al. Antinociceptive, anti-inflammatory and antipyretic properties of Melastoma malabathricum leaves aqueous extract in experimental animals. Can J Physiol Pharmacol 2006;84:1291-9.

Faravani M. The population biology of Straits Rododendron (Melastoma Malabathricum L.) [dissertation]. Kuala Lumpur, Malaysia: University of Malaya; 2009.

Ullah A, Munir S, Badshah SL, Khan N, Ghani L, Poulson BG, et al. Important flavonoids and their role as a therapeutic agent. Molecules 2020;25:5243. https://doi.org/10.3390/molecules25225243.

Moo-Huchin VM, Canto-Pinto JC, Cuevas-Glory LF, Sauri Duch E, Pérez Pacheco E, Betancur Ancona D. Effect of extraction solvent on the phenolic compounds content and antioxidant activity of Ramon nut (Brosimum alicastrum). Chem Pap 2019;73:1647–57.

Sasadara MMV, Wirawan IGP. Effect of extraction solvent on total phenolic content, total flavonoid content, and antioxidant activity of Bulung Sangu (Gracilaria sp.) Seaweed. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science. 2021;712:012005.

Rungsung W, Ratha KK, Dutta S, Dixit AK, Hazra J. Secondary metabolites of plants in drugs discovery. World J Pharm Res 2015;4:604–13.

Do QD, Angkawijaya AE, Tran-Nguyen PL, Huynh LH, Soetaredjo FE, Ismadji S, et al. Effect of extraction solvent on total phenol content, total flavonoid content, and antioxidant activity of Limnophila aromatica. J Food Drug Anal 2014;22:296-302.

Das K, Tiwari RK, Shrivastava DK. Techniques for evaluation of medicinal plant products as antimicrobial agents: Current methods and future trends. J Med Plants Res 2010;4:104-11.

Tiwari P, Kumar B, Kaur M, Kaur G, Kaur H. Phytochemical screening and extraction: A review. Int Pharm Sci 2011;1:98–106.

Panche AN, Diwan AD, Chandra SR. Flavonoids: An overview. J Nutr Sci 2016;5:e47. https://doi.org/10. 1017/jns.2016.41

Nawaz H, Shad AM, Rehman N, Andaleeb H, Ullah N. Effect of solvent polarity on extraction yield and antioxidant properties of phytochemicals from bean (Phaseolus vulgaris) seeds. Braz J Pharm Sci 2020;56: e17129.

Indarti K, Apriani EF, Wibowo AE, Simanjuntak P. Antioxidant activity of ethanolic extract and various fractions from green tea (Camellia sinensis L.) Leaves. Pharmacogn J 2019;11:771-6.