แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อพยากรณ์ปริมาณการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย

Main Article Content

สิโรรัตน์ จั่นงาม
กนิษฐา ยิ้มนาค
จุฑารัตน์ โพธิ์หลวง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการผลิต ไบโอดีเซลในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 79 ค่า โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 72 ค่า สำหรับการสร้างแบบจำลองด้วยวิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลด้วยวิธีของโฮลท์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลด้วยวิธีของบราวน์ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการพยากรณ์ร่วม และข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 7 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบแบบจำลองเพื่อคัดเลือกแบบจำลองที่พยากรณ์ได้แม่นและเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ที่มีค่าต่ำที่สุด  ผลการวิจัยพบว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ (MAPE = 41.833 และ RMSE = 0.324) และมีตัวแบบการพยากรณ์ คือ ARIMA(0,2,1) ที่มีพจน์ค่าคงที่

Article Details

บท
Articles

References

อ้อยใจ ทองเฌอ, วิทูรัช กู๊ดวิน, อุกฤษฎ์ สหพัฒน์สมบัติ. รู้จักไบโอดีเซลใน 4 ชั่วโมง. ปทุมธานี: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ; 2550.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565: อุตสาหกรรมไบโอดีเซล [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/energy-utilities/biodiesel/io/io-biodiesel-20

อภิญญา ขนุนทอง. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมไบโอดีเซล [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/energy-utilities/biodiesel/io/io-biodiesel-21

พิราวรรณ หนูเสน, ประสิทธิ์ พยัคฆพงษ์, ธิดาพร ศุภภากร. การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558;23:377-84.

กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. ปริมาณการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doeb.go.th/info/data/datadistribution/ biodieselB100_Manufac.pdf

กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. การผลิตไบโอดีเซล เปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลัง จนถึงปัจจุบัน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://data.doeb.go.th/no/dataset/production_b100_5years_ current/resource/d0a4cad6-8ed9-4532-8352-e29551d204b2

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ: การวิเคราะห์อนุกรมเวลา. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

มุกดา แม้นมินทร์. อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง; 2549.

สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. เทคนิคการพยากรณ์. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2548.

Huang H, Lee TH. To combine forecasts or to combine information? Econom Rev 2010;29:534-70.

Avuglah RK, Adu-Poku KA, Harris E. Application of ARIMA models to road traffic accident cases in Ghana. Int J Stat Appl 2014;4:233-9.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ทิศทางลมที่ระดับความสูง 120 เมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 2563;11:40-52.

ภิรมย์ สุวรรณสม, ทองสุข พละมา, ปนัดดา แทนสุโพธิ์. การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่ใช้แล้ว โดยใช้เถ้าแกลบเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและหาสภาวะที่เหมาะสม โดยวิธีพื้นผิวตอบสนอง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2561.

Johnson RA, Bhattacharyya GK. Statistics Principles and Methods. 6th ed. Chichester: John Wiley; 2011.