การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดเจลทรงกลมจากน้ำชาผักชายาผสมข้าวเหนียวดำคั่ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดเจลทรงกลมจากน้ำชาผักชายาผสมข้าวเหนียวดำคั่ว โดยศึกษาระดับความหวานของน้ำชาผักชายาผสมข้าวเหนียวดำคั่วที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ Control, 3 ºBrix, 5 ºBrix และ 7 ºBrix ประเมินคุณภาพการยอมรับทางประสาทสัมผัส พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนการยอมรับน้ำชาผักชายาที่มีความหวาน 5 oBrix และ 7 oBrix หลังจากนั้นศึกษาความเข้มข้นของโซเดียมแอลจิเนตที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0.75, ร้อยละ 1, ร้อยละ 1.25 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ผลการประเมินคุณภาพการยอมรับทางประสาทาสัมผัส พบว่า คะแนนความชอบด้านสี กลิ่น และรสชาติของเม็ดเจลน้ำชาผักชาชายาที่ความเข้มข้นโซเดียมอัลจิเนตที่แตกต่างกันที่ 4 ระดับ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะเดียวกัน พบว่าคะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนต แต่คะแนนความชอบด้านเนื้อสัมผัสมีแนวโน้มลดลง ค่าความแข็งของเม็ดเจลมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนต ความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตส่งผลให้เม็ดเจลมีความเป็นทรงกลมมากขึ้น และมีค่าความแข็ง (Hardness) มากขึ้น แต่ความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตไม่ส่งผลต่อค่าสี (L*, a* และ b*) ของเม็ดเจล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal
References
สินีนาถ สุขทนารักษ์, ณัฐพล กาจุลศรี, สกล สุวรรณทัพพะ, บุศรา ไวยโภควา. การผลิตเจลน้ำเปลือกแก้วมังกรเสริมน้ำสับปะรดด้วยเทคนิคการขึ้นรูปทรงกลมแบบย้อนกลับ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 2564;14:25-31.
สินีนาถ สุขทนารักษ์, สุธิดา รักษาอินทร์, วาสนา พูลฤทธิ์, ณัฐพล ครามเขียว. การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำชาดาวอินคาด้วยเทคนิคการขึ้นรูปทรงกลม. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6; 6 มิถุนายน 2561; มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. สมุทรปราการ: 2561.
พัชรี คำประเวช, สุธีรา วัฒนกุล. การผลิตเม็ดบีดส์น้ำเสาวรสด้วยเทคนิครีเวิร์สสเฟียริฟิเคชัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561;26:1381-93.
Gaikead SA, Kulthe AA, Suthar TR. Characterization of flavoured sweet water balls prepared by basic spherification technique. Int J Chem Stud 2019;7:1714-8.
Kuti JO, Kuti HO. Proximate composition and mineral content of two edible species of Cnidoscolus (tree spinach). Plant food hum nutr 1999;53:275-83.
พัชรลักษณ์ วัฒนไชย, สินีนาถ สุขทนารักษ์. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) รสกระเพราเสริมใบชายา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2565;17:131-40.
สังวาลย์ ชมภูจา. การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมั่นโถวเชิงสุขภาพด้วยการเสริมน้ำผักชายา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉลิมพระเกียรติ 2563;6:21-31.
จิราภรณ์ แก่นท้าว, ธิดารัตน์ สีสด, ชุติมา ทองแก้ว. สาหร่ายเทียมจากใบชายา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. ครั้งที่ 16; 11-12 กรกฎาคม 2565; มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: 2565.
ธิติยา ผจงพฤทธิ์, จุรีมาศ ดีอำมาตย์, สินีนาถ สุขทนารักษ์, เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา, พัชรลักษณ์ วัฒนไชย, กนกวรรณ ปุณณะตระกูล และคณะ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนของชุมชนบ้านคลองอาราง: ชาสมุนไพรชายากลิ่นข้าวเหนียวดำคั่ว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562;14:95-103.
อัศพงษ์ อุประวรรณา, ชนันภรณ์ ทองโรจน์, จรรยา โท๊ะนาบุตร. การผลิตเม็ดบีดส์ซอสมะม่วงโดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปทรงกลม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2564;16:41-56.
สินีนาถ สุขทนารักษ์, เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา, วัฒนา อัจฉริยะโพธา. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดเจลน้ำส้มซ่าทรงกลม. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 2566;16:66-74.
Mohamed SE, Elbadawy AK, Mamdouh AS, Smaher ME. L-Arginine grafted alginate hydrogel beads: A novel pH-sensitive system for specific protein delivery. Arab J Chem 2015;8:355-65.
Lupo B, Maestro A, Gutierrez JM, Gonzalez C. Characterization of alginate beads with encapsulated cocoa extract to prepare function food: Comparison of two gelation mechanisms. Food Hydrocolloids 2015;49:25-34.