การเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศความหนาแน่นสูงในกระชังบ่อดินด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

ชลิดา ช้างแก้ว
บัญญัติ ศิริธนาวงศ์
อัจฉรีย์ ภุมวรรณ
รุ่งกานต์ กล้าหาญ
ทิพย์สุดา ชงัดเวช
จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและผลตอบแทนของการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังบ่อดินด้วยความหนาแน่นสูง โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง(IoT)วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (completely randomized design) จัดเป็น 3 ชุดการทดลอง คือ ความหนาแน่นของการเลี้ยง 30 ตัว/ม3/กระชัง (T1), 50ตัว/ม3/กระชัง (T2) และ 70 ตัว/ม3/กระชัง(T3) การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1. การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดออกซิเจนละลายน้ำ อุณหภูมิน้ำ และกล้องวงจรปิด พร้อมระบบสั่งการทำงานเครื่องเติมอากาศผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยระบบ IoT 2. เลี้ยงปลานิลแปลงเพศขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 40.83 กรัม/ตัว ที่ความหนาแน่นต่างกัน 3 ระดับ ในกระชังบ่อดินเป็นเวลา 5 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปลาที่เลี้ยงความหนาแน่น 30, 50 และ 70 ตัว/ม3 มีน้ำหนักเฉลี่ย 442.38, 431.36 และ 438.92 กรัม/ตัว ตามลำดับ การเจริญเติบโตจำเพาะมีค่า 1.59%, 1.58% และ 1.57% ต่อวัน มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย 88.33%, 84.67% และ 84.33% ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ด้าน พบว่าให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p≥0.05 สำหรับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) มีค่า 1.53,1.63 และ1.64 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ระหว่างการเลี้ยงสามารถรายงานผลปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ อุณหภูมิน้ำ การสั่งงานเครื่องเติมอากาศ และการแสดงภาพตามเวลาจริง ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยระบบ IoT ตลอดระยะการทดลอง ด้านต้นทุนเฉลี่ยของการเลี้ยงคิดเป็น 60.21, 59.34 และ 57.06 บาท/กิโลกรัม และมีอัตราผลตอบแทนคิดเป็น -0.33%, 1.22% และ 5.16% ตามลำดับ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงปลานิลในกระชังบ่อดินร่วมกับการใช้ระบบ IoT ให้เลี้ยงปลานิลได้ในความหนาแน่นมากขึ้น มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำลง และได้ผลตอบแทนการเลี้ยงสูง

Article Details

บท
Articles

References

กรมประมง. คู่มือการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปลานิล. เอกสารเผยแพร่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร: 2561.

คีรี กออนันตกุล, จุฬ สินชัยพานิช. การเลี้ยงปลานิลในกระชัง. เอกสารเผยแพร่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร: 2549.

El-Sayed AFM. Tilapia culture [Internet]. London: CABI Publishing; 2006 [cited 2023 Sep 22]. Available from: https://www.researchgate.net/profile/Abdel-El-Sayed/publication/287293649_ Tilapia_Culture/links/5692200208aee91f69a606af/Tilapia-Culture.pdf

สรวิศ เผ่าทองศุข. เลี้ยงปลาหนาแน่นสูง ผลผลิตเพิ่ม 30 เท่า [อินเทอร์เน็ต].ไทยรัฐออนไลน์; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 28 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1262706

กิตติศักดิ์ โอมาก, ธนโชติ พรบุญญานนท์. การตรวจสอบและการควบคุมของระบบเลี้ยงปลาอัจฉริยะ. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต]. หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2564.

วิมล จันทรโรทัย. การวางแผนการวิจัยด้านอาหารปลา. วารสารการประมง 2536;46:323–30.

ฉัตร ช่ำชอง. หลักการจัดการฟาร์ม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์; 2526.

กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการเลี้ยงปลาในกระชังที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2553.

ไมตรี ดวงสวัสดิ์, จารุวรรณ สมศิริ. คุณสมบัติของน้ำและวิธีวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางการประมง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประมงน้ำจืดแห่งชาติ กรมประมง; 2528.

Boyd CE. Water quality in pond for aquaculture. Alabama: Agriculture Experiment Station, Auburn University; 1990.

ภัครพล อาจอาษา, วิโรจน์ อภินันท์ธนากร, ประมุข ศรีชัยวงศ์ และวิระพงศ์ จันทร์สนาม. การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลโดยใช้อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐาน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 2564;6:531-44.

วราห์ เทพาหุดี. แอปพลิเคชั่น นิล 4.0 เวอร์ชั่น 2 [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 21 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: แอปพลิเคชั่น นิล 4.0 เวอร์ชั่น 2 – Kasetsart University Research and Development Institute (ku.ac.th)

จามรี เครือหงส์. การเลี้ยงปลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครสวรรค์: อาง้วนการพิมพ์; 2565.

สมศักดิ์ ระยัน, นัยนา เสนาศรี, สมพงษ์ ศรีขันแก้ว. ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโต และผลตอบแทนการ เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี [อินเทอร์เน็ต]. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 53: สาขาพืช, สาขาสัตว์, สาขาสัตวแพทยศาสตร์, สาขาประมง, สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงจาก: การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ku.ac.th)

กรมประมง. การเลี้ยงปลานิลในกระชัง. เอกสารเผยแพร่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ; 2557.

กรมประมง. ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2561. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มเศรษฐกิจการประมง กรมประมง; [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]: เข้าถึงได้จาก: ต้นทุน กลุ่มเศรษฐกิจการประมง (fisheries.go.th)

ฐวรญาณ์ สุขยิ่ง. การวิเคราะห์ต้นทุนปริมาณกำไร กรณีศึกษา ต้นทุนส่วนเพิ่มเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของกลุ่มสมาชิกสหกรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำ ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2560.