การบำบัดน้ำเสียจากการแปรรูปยางพาราด้วยระบบกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์

Authors

  • ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสรีย์ ย์ ตู้ประกาย

Keywords:

น้ำเสีย, กระบวนการแปรรูปยางพารา, ระบบกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมบัติของน้ำเสียจากกระบวนการแปรรูปยางพารา ออกแบบ
และสร้างระบบกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์ และศึกษาป...ระสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการแปรรูป
ยางพาราด้วยระบบกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้ตัวอย่างน้ำเสียก่อนเข้าบ่อพักน้ำเสีย และน้ำเสียใน
บ่อพักน้ำเสียจากการแปรรูปยางพาราของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ผลการศึกษาพบว่า น้ำเสีย
จากกระบวนการแปรรูปยางพาราก่อนเข้าบ่อพักมีกลิ่นเหม็นของกรด มีสีขาวขุ่น ค่า pH เท่ากับ 4.88 ค่า
ของแข็งแขวนลอย (SS) เท่ากับ 66 มก./ล. ค่า BOD เท่ากับ 5,109 มก./ล. น้ำเสียจากบ่อพัก มีกลิ่นเหม็น
ของกรด และกลิ่นคล้ายยางเน่า มีสีเทาขุ่น ค่า pH เท่ากับ 5.28 ค่าของแข็งแขวนลอย (SS) เท่ากับ
122 มก./ล. ค่า BOD เท่ากับ 7,090 มก./ล. ระบบกลั่นที่ออกแบบและสร้างเป็นระบบขนาดเล็ก สามารถ
กลั่นได้ 8.75-36 มล./วัน สามารถระเหยน้ำเสีย 300 มล. ได้หมดในเวลา 7 วัน ประสิทธิภาพการกลั่นของ
เครื่องกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในช่วง 50.5- 56.7% อุณหภูมิทั้ง 4 ตำแหน่งของระบบกลั่น พบว่า
อุณหภูมิบริเวณใต้น้ำมีค่าสูงที่สุด เฉลี่ย 44.43 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิบรรยากาศมีค่าต่ำที่สุด เฉลี่ย
33.87 องศาเซลเซียส สารละลายที่ได้จากเครื่องกลั่นมีกลิ่นฉุนน้อยกว่า และมีสีใสกว่าน้ำเสีย ค่า pH อยู่ใน
ช่วง 4.22 - 5.26 ค่า SS อยู่ในช่วง 51-60 มก./ล. และมีค่า BOD อยู่ในช่วง 1,940-2,195 มก./ล.
ประสิทธิภาพในการกำจัด SS และ BOD อยู่ในช่วง 12.12-69.87 % และ 57.37-72.57 % ตามลำดับ

Downloads

Published

2015-05-01

How to Cite

ตู้ประกาย ด. เ., & ย์ ตู้ประกาย ผ. ด. (2015). การบำบัดน้ำเสียจากการแปรรูปยางพาราด้วยระบบกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 8(2), 35–52. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/183722

Issue

Section

Original Articles