ความหลากหลายของพืชสกุลชงโค (Bauhinia L.) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย
Keywords:
อนุกรมวิธาน, สกุลชงโค, วงศ์ย่อยราชพฤกษ์, วงศ์ถั่วAbstract
การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้สกุลชงโค (Bauhinia L.) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย เก็บตัวอย่างพรรณไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าชุมชนระหว่างเดือนพฤษภาคม
พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 และศึกษาตัวอย่างพรรณไม้แห้งจากพิพิธภัณฑ์พืชหลักในประเทศไทย
พบพรรณไม้สกุลชงโค 25 ชนิด ได้แก่ กระไดลิง (B. scandens) กาหลง (B. acuminata) เครือเขาแถบ
(B. curtisii) ชงโค (B. purpurea) ชงโคนา (B. racemosa) ชงโคดอกเหลือง (B. tomentosa) ชงโคขี้ไก่
(B. hirsuta) เถากระไดลิง (B. nakhonphanomensis) เถาใบสีทอง (B. aureifolia) ปอเจี๋ยน
(B. bracteata) ย่านางแดง (B. strychnifolia) โยทะกา (B. monandra) ส้มเสี้ยว (B. malabarica)
ส้มเสี้ยวเถา (B. lakhonensis) สิรินธรวัลลี (B. sirindhorniae) แสลงพันกระดูก (B. similis) แสลงพันเถา
(B. pulla) เสี้ยวเขาพระวิหาร (B. saigonensis) เสี้ยวเครือแดง (B. galpinii) เสี้ยวแดง (B. penicilliloba)
เสี้ยวเถา (B. ornata) เสี้ยวน้อย (B. harmsiana) เสี้ยวป่า (B. saccocalyx) เสี้ยวฟ่อม (B. viridescens)
และอรพิม (B. winitii) ซึ่งพบพรรณไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มเติมจากที่รายงานใว้ในหนังสือพรรณ
พฤกษชาติของประเทศไทย 4 ชนิด คือเถากระไดลิง เถาใบสีทอง สิรินธรวัลลี และเสี้ยวเครือแดง พบพรรณ
ไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย 5 ชนิด คือ เถากระไดลิง ใบไม้สีทอง ย่านางแดง สิรินธรวัลลี และอรพิม ได้
บรรยายลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พร้อมข้อมูลนิเวศวิทยา ระยะเวลาออกดอก การกระจายพันธุ์
ชื่อพื้นเมือง การนำไปใช้ประโยชน์ และรูปวิธานระบุชนิด ตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงเก็บรวบรวมไว้ที่ หอพรรณไม้
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF)