ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายฝั่ง ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Keywords:
คุณภาพน้ำ, การปนเปื้อน, ปริมาณออกซิเจนAbstract
การศึกษาผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อคุณภาพน้ำทะเล บริเวณชายฝั่ง ตำบลเกาะเต่า อำเภอ
เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพ และห
าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนักท่องเที่ยวกับคุณภาพน้ำ บริเวณหาดแม่หาด (โรงแรมที่พัก ท่าเรือ)
หาดโฉลกบ้านเก่า (โรงแรมที่พัก) หาดทรายรี (โรงแรมที่พัก) และหาดเทียน ในช่วงเดือนสิงหาคม
พ.ศ. 2554 – กรกฎาคม พ.ศ. 2555 พบว่าคุณภาพน้ำทะเลที่ทำการตรวจวัด บริเวณเกาะเต่าจัดอยู่ใน
มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 (คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการนันทนาการ) ตามประกาศคณะกรรมการ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 27 พ.ศ.2549 ยกเว้นบริเวณ หาดแม่หาดและหาดโฉลกบ้านเก่า ซึ่งเป็นสถานี
ที่มีผลกระทบจากการท่องเที่ยว มีค่าการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรีย สูงกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล
ประเภทที่ 4
ค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำบริเวณสถานีศึกษาพบค่าเฉลี่ยของปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด
ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน ปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนและปริมาณฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส บริเวณหาด
แม่หาดและหาดโฉลกบ้านเก่าซึ่งเป็นสถานีที่มีโรงแรมที่พักและท่าเรือ มีค่าสูงกว่าหาดทรายรี และหาดเทียน
อย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ บริเวณหาด-
แม่หาด และหาดโฉลกบ้านเก่าซึ่งเป็นสถานีที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวหนาแน่นมีค่าสูงกว่าหาดเทียนซึ่งเป็น
จุดควบคุม ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนักท่องเที่ยวกับคุณภาพน้ำพบว่าค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้
ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ มีความสัมพันธ์ใน
เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) กับจำนวนห้องพัก การศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ว่ากิจกรรมการท่องเที่ยวส่ง
ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริเวณเกาะเต่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าการปนเปื้อนของคลอริฟอร์มแบคทีเรีย
ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน ปริมาณฟอสเฟต–ฟอสฟอรัสและ
ค่าปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ