ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดใบลองกอง

Authors

  • ขวัญจิต อิสระสุข

Keywords:

สารสกัดใบลองกอง, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของ
สารสกัดหยาบจากใบลองกองที่สกัดด้วยตัวทำละลายเมทานอล และโพรพิลีนไกลคอล โดยวิธีการหมัก
ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัดใบลองกองด้วยโพรพิลีนไกลคอลมี
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าสารสกัดด้วยเมทานอล โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.76±0.03 mg/mL โดยศึกษา
เปรียบเทียบกับวิตามินซี และสารบิวทิลไฮดรอกซิลโทลูอีน (บีเอชที) ซึ่งใช้เป็นสารควบคุมเชิงบวก และ
วิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกรวมและฟลาโวนอยด์รวมในสารสกัดใบลองกอง พบว่าสารสกัดที่
สกัดด้วยตัวทำละลายโพรพิลีนไกลคอลมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและฟลาโวนอยด์รวมสูงกว่าในตัว
ทำละลายเมทานอล ซึ่งมีค่าเท่ากับ 853.13±0.60 mgGAE/g สารสกัด และ204.54±26.11 mgQE/g สาร
สกัด ตามลำดับ ทดสอบด้วยวิธี Folin-Ciocaltue assay และ Aluminium chloride method ตามลำดับ
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดใบลองกอง ด้วยวิธี Dopachrome โดยใช้สารไทโรซีน
เป็นสารตั้งต้น ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดใบลองกองที่สกัดด้วยโพรพิลีนไกลคอลมีการยับยั้งเอนไซม์ไทโร
ซิเนสสูงกว่าสารสกัดที่สกัดด้วยเมทานอล โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.014±0.00017 mg/mL เปรียบเทียบกับ
กรดโคจิกซึ่งใช้เป็นสารควบคุมเชิงบวก ข้อมูลจากผลการวิจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ใบลองกองที่สกัดด้วย
ตัวทำละลายโพรพิลีนไกลคอล สามารถใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวกระจ่างใสได้

Downloads

Published

2015-09-01

How to Cite

อิสระสุข ข. (2015). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดใบลองกอง. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 8(3), 81–96. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/183750

Issue

Section

Original Articles