ผลของการใช้คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารลดพลังงาน สำหรับโปรแกรมลดน้ำหนักของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน

Authors

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี เกียรติชนก

Keywords:

ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน, คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน, การประเมินภาวะ โภชนาการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาสูตรอาหารลดพลังงานแคลอรีต่ำ 1,200 กิโลแคลอรี
ต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ 2) เพื่อสร้างคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารลดพลังงานสำหรับผู้ที่มี
ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน 3) ศึกษาผลการนำคู่มือไปใช้ในโปรแกรมลดน้ำหนัก โดยการประเมินภาวะ
โภชนาการและพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายและอารมณ์ก่อนและหลังการทดลองเป็นเวลา 4 สัปดาห์
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์จำนวน 25 คนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนโดยใช้
เกณฑ์คัดกรองภาวะโภชนาการจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ
23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร นักศึกษาชายมีเส้นรอบเอว (Waist circumference) มากกว่าหรือเท่ากับ
90 เซนติเมตร นักศึกษาหญิงมีเส้นรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร โดยนักศึกษาไม่ได้กินยา
ลดน้ำหนักและไม่เคยเข้าร่วมโปรแกรมการลดน้ำหนักมาก่อน นักศึกษายินดีเข้าร่วมโปรแกรมลดน้ำหนักด้วย
ตนเองเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทางสถิติด้วยค่าที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาสูตรอาหารลดน้ำหนักที่มีแคลอรีต่ำ 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน
4 สัปดาห์ ได้สูตรอาหารที่เหมาะสมกับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งผู้ที่บริโภคนมและไม่บริโภคนม 2) ได้คู่มือ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารลดพลังงานสำหรับที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ผลจากการประเมิน
คุณภาพคู่มือจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนพบว่า คู่มือมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (4.54+0.07)

ผลการประเมินจากผู้ใช้คู่มือคือนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมลดน้ำหนัก ในด้านเนื้อหาวิชาการ
และการนำไปใช้ประโยชน์และความเหมาะสมด้านเทคนิคการผลิต พบว่าคู่มือมีระดับความเหมาะสมอยู่ใน
เกณฑ์ดีมาก (4.52+0.14) 3) กลุ่มนักศึกษาที่ยินดีเข้าร่วมโปรแกรมลดน้ำหนักด้วยตนเองมีการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายและอารมณ์โดยมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นหลังการทดลอง
4 สัปดาห์จากคะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 61.44+9.21 เป็น 71.84+8.52 คะแนน อย่างมี
นัยสำคัญ (P-value <0.05) ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว มีแนวโน้ม
ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้ น้ำหนักก่อนและหลังการทดลองจากมีค่าเฉลี่ย 89.94+21.73 เป็น
88.80+21.76 กิโลกรัม ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงจาก 32.50+6.57 เป็น 32.08+6.57 กิโลกรัมต่อ
ตารางเมตรและเส้นรอบเอวลดลงจาก 98.48+16.25 เป็น 96.06+17.07 เซนติเมตร การศึกษาครั้งนี้
สอดคล้องกับหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดน้ำหนักซึ่งต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ สำหรับการสร้าง
พฤติกรรมใหม่ที่จะกลายเป็นนิสัยการกินที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและการมีสุขภาพที่ดี

Downloads

Published

2015-09-01

How to Cite

เกียรติชนก ผ. (2015). ผลของการใช้คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารลดพลังงาน สำหรับโปรแกรมลดน้ำหนักของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 8(3), 97–118. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/183752

Issue

Section

Original Articles