ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากแก่นมะหาด
Keywords:
มะหาด, การสกัด, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดAbstract
บทคัดย่อ
มะหาด (Artocarpus lakoocha Roxb.) อยู่ในวงศ์ Moraceae เป็นพรรณไม้ที่พบได้แถบทางใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย การสกัดสารจากแก่นมะหาดจะสกัดด้วยวิธีการแช่ในตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดต่างๆ ได้แก่ เอทิลอะซิเตต เมธานอล และเอทธานอล การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (Total Phenolic content) ด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีโดยวิธี Folin-Ciocalteau และคำนวณเทียบกับกรดแกลลิคต่อกรัมของสารสกัดหยาบ (GAE/g extract) และการตรวจสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิคสคาเวนกิง โดยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ของสารสกัดหยาบจากแก่นมะหาด ผลการศึกษาพบว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตต เมทานอล และเอทธานอล เท่ากับ 210.16 ± 2.30, 153.85 ± 1.51 และ 174.96 ± 0.00 มิลลิกรัมแกลลิคแอซิดต่อกรัมสารสกัดหยาบ ตามลำดับ และสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตต เมทานอล และเอทธานอล จะแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีค่า IC50 เท่ากับ 53.71, 61.70 และ 60.71 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ พบว่าการสกัดสารจากแก่นมะหาดด้วยตัวทำละลายเอทธิลอะซิเตตพบว่าจะมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและแสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดเมทานอล และเอทธานอล แสดงให้เห็นว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมีความสัมพันธ์กันเมื่อสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน
คำสำคัญ: มะหาด การสกัด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด
Abstract
Artocarpus lakoocha Roxb. (Moraceae), is a widely distributed tree in regions of South and Southeast Asia. The heartwood of A. lakoocha was extracted with different organic solvents (ethyl acetate, methanol and ethanol), by using maceration. Total phenolic contents were determined using a spectrophotometric technique, based on the Folin-Ciocalteau method and calculated as Gallic acid equivalents GAE/ g extract. The antioxidant activity of A. lakoocha heartwood extracts were investigated by 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay. Results showed that one gram of crude extracts (ethyl acetate, methanol and ethanol) contained total phenolic 210.16 ± 2.30, 153.85 ± 1.51 and174.96 ± 0.00 mg GAE, respectively.Crude extracts of ethyl acetate, methanol and ethanol showed antioxidant activities of IC50 values 53.71, 61.70and60.71µg/ml, respectively. The heartwood of A. lakoocha extract with ethyl acetate as solvent exhibited the highest total phenolic content and antioxidant activity compared with those of the methanol and ethanol extracts. Showed that total phenolic contents and antioxidant activity correlated when with different solvents.
Keywords: Artocarpus lakoocha Roxb, Extraction, Antioxidant activity, Total phenolic content