การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินขนาดใหญ่เพื่อการติดตามตรวจสอบทางชีวภาพ
Keywords:
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน, ดัชนีชีวภาพ, การติดตามตรวจสอบทางชีวภาพ, คุณภาพน้ำAbstract
บทคัดย่อ
การติดตามตรวจสอบทางชีวภาพโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินขนาดใหญ่มีด้วยกันหลากหลายวิธี เช่น การติดตามการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม การสะสมทางชีวภาพของสารพิษ การทดสอบความเป็นพิษในห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม การวัดการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร องค์ประกอบในชุมชนสิ่งมีชีวิต และบทบาทหน้าที่เชิงนิเวศ ในอนาคตสิ่งที่ยังต้องการเพื่อพัฒนาการใช้สัตว์หน้าดินในการติดตามตรวจสอบประเมินคุณภาพน้ำทางชีวภาพมีดังต่อไปนี้ (1) การพัฒนาความรู้ให้เข้าใจยิ่งขึ้นถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเพื่อตอบสนองต่อมลพิษที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา (2) ความต้องการที่สำคัญในการทดสอบภาคสนาม ซึ่งผลของการทดสอบนั้นๆ ต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ ระดับของการทดสอบภาคสนาม (3) การติดตามตรวจสอบทางชีวภาพ ที่ตรวจสอบจากสภาพของแหล่งกำเนิดมลพิษที่รู้แหล่งแน่นอน (point sources) ควรจะต้องได้รับการพัฒนาเทคนิคเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพของแหล่งกำเนิดมลพิษไม่รู้แหล่งกำเนิด (non point-sources) (4) การติดตามตรวจสอบทางชีวภาพต้องการพัฒนาเพื่อใช้ในการพัฒนาค่ามาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม การประเมินคุณภาพแหล่งน้ำด้วยสัตว์หน้าดิน ในบทความนี้จะเน้นถึงงานวิจัยและการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อ นิสิตนักศึกษาที่เรียนและทำวิจัยด้านนี้ นักชีววิทยาแหล่งน้ำจืด อาจารย์และนักวิจัยที่สนใจจะพัฒนาและปรับปรุงเทคนิคการใช้สัตว์หน้าดินเป็นดัชนีชีวภาพ ตลอดจนผู้สนใจทั่วๆ ไป
คำสำคัญ: สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ดัชนีชีวภาพ การติดตามตรวจสอบทางชีวภาพ คุณภาพน้ำ
Abstract
There are many approaches of biological monitoring by applying macroinvertebrates such as; monitoring of hereditary change, biological accumulation of toxic substances, toxicological test in laboratory and field work, measurement of population change, study of community structure and ecological role. At an early date, there are many factors, which need to be developed for biological monitoring by using macrovinvetebrates. 1) Novel knowledge is necessary for depth understanding of natural change for responding to pollution in areas and time. 2) It is necessary to apply methodologies for fieldwork to use in many levels of field trials. 3) Methods of biological monitoring for detection of point sources should be improved for detecting non-point-source. 4) Biological monitoring by using macroinvertebrates should be developed to use as ecological standard method for water evaluation. This publication reviews research studies conducting to apply macroinvertebrates for biological monitoring in freshwater in Thailand. This report would benefits not only researchers and students but also individuals who are interested in this field.
Keywords: Benthic macroinvertebrates, Bioindicators, Biomonitoring, water quality