การยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารด้วยสารสกัดสมุนไพรที่ใช้ในการทำลูกแป้งข้าวหมาก

Authors

  • อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์, และสุชารัตน์ เกาะแก้ง

Keywords:

ลูกแป้งข้าวหมาก, สมุนไพร, Shigella boydii, Staphylococcus aureus

Abstract

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพร 6 ชนิด ที่นิยมใช้ทำลูกแป้งข้าวหมาก ได้แก่  ขิง ข่า  ดีปลี  กระวาน กานพลู และ เจตมูลเพลิงขาว ต่อการยับยั้งเชื้อก่อโรคทางเดินอาหาร 4 ชนิด คือ Escherichia coli, Shigella boydiiStaphylococcus aureus และ Salmonellatyphi โดยสกัดสารจากสมุนไพรด้วยเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 95 ทดสอบการยับยั้งเชื้อด้วยวิธี paper disc diffusion และตรวจหาค่าความเข้มข้นตํ่าสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญและฆ่าแบคทีเรีย(Minimum Inhibitory Concentration, MIC และ Minimum Bactericidal Concentration, MBC) ด้วยวิธี broth dilution และ agar dilution จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากดอกกานพลูและรากเจตมูลเพลิงสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Shigella boydii (แกรมลบ รูปร่างท่อน) และ Staphylococcus aureus (แกรมบวก รูปร่างกลม) พบบริเวณยับยั้ง (inhibition zone) ขนาดระหว่าง 9.05-14.48 มิลลิเมตร ที่ความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพร 20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้สารสกัดดอกกานพลู และเจตมูลเพลิงขาวสามารถฆ่าแบคทีเรีย 2 ชนิดนี้ได้ที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุด (MBC) เท่ากับ 6.0 และ 19.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 3.0 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้นดอกกานพลูและรากเจตมูลเพลิงขาวที่เป็นส่วนประกอบของลูกแป้งข้าวหมากจึงมีบทบาทในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร

คำสำคัญ: ลูกแป้งข้าวหมาก, สมุนไพร, Shigella boydiiStaphylococcus aureus

 

Abstract

    This research aimed to analyze bacterial inhibitory effects of 6 herbal extracts used in KaoMak-starter making, which were Zingiber officinale Rose., Alpinia galanga L. Swartz., Piper chaba Hunt., Amomum testaceum Ridl., Eugenia caryophyllum Bullock & Harrison, and Plumbago zeylanica L. Four enteropathogenic bacteria used in this study were Escherichia coli, Shigella boydiiStaphylococcus aureus and Salmonellatyphi. The herbs were extracted with 95% ethanol to obtain the herbal extracts. To detect the inhibitory effect, paper disc diffusion technique was used to determine the values of Minimum Inhibitory Concentration (MIC) and Minimum Bactericidal Concentration (MBC) which were examined by both broth dilution and agar dilution techniques. The results revealed that E. caryophyllum andP. zeylanica extracts could restrict growths of S. boydii (Gram negative bacilli) and S. aureus (Gram positive cocci) with inhibition zones of 9.05-14.48 mm at herbal extract concentration of 20 mg/ml. Moreover, these 2 herbal extracts showed bactericidal activities to S. boydii and S. aureus at the MBC values of 6.0 and 19.0 mg/ml and 3.0 and 1.0 mg/ml, respectively. Thus, E. caryophyllum and P. zeylanica in KaoMak starter were suggested as the anti-bacterial agents for reducing enteropathogenic bacteria.

Keywords: KaoMak starter, Herbs, Shigella  boydii, Staphylococcus  aureus

Downloads

How to Cite

และสุชารัตน์ เกาะแก้ง อ. ช. (2015). การยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารด้วยสารสกัดสมุนไพรที่ใช้ในการทำลูกแป้งข้าวหมาก. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(2), 11–26. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29431

Issue

Section

Original Articles