การประเมินการตกสะสมของสารกรดแบบเปียกและแห้งด้วยวิธีธรรมชาติเหนือป่าชีวมณฑลสะแกราช
Keywords:
การตกสะสมเปียก, การตกสะสมแห้ง, ป่าชีวมณฑลสะแกราชAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปริมาณการตกสะสมของสารกรดเหนือป่าชีวมณฑลสะแกราช สถานที่เก็บตัวอย่างตั้งอยู่ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา การตกสะสมของสารกรดมีทั้งแบบเปียก (สารกรดในน้ำฝน) และแบบแห้ง (สารกรดในอากาศ) ในการตรวจวัดการตกสะสมของสารกรดแบบเปียก น้ำฝนจะถูกเก็บด้วยภาชนะในที่โล่งในขณะที่ฝนตก การเก็บแบบแห้งใช้วิธีเก็บตัวอย่างใบไม้มาวิเคราะห์ในทุก 10 วัน ระยะเวลาเก็บตัวอย่างนาน 6 เดือน ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2555 ตัวอย่างที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์เพี่อหาปริมาณการตกสะสมของสารกรดด้วยเครืองอิออนโครมาโตกราฟ ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างน้ำฝนมีค่าความนำไฟฟ้าเฉลี่ย 0.15mS/m ค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ย 5.54 ซึ่งแสดงสภาวะความเป็นฝนกรดเล็กน้อย ค่าฟลักซ์การตกสะสมแบบเปียกมีค่าเฉลี่ยของไนเตรต (NO3-), ซัลเฟต (SO42-), ฟอเมท(HCOO-) และอะซิเตท (CH3COO-) เท่ากับ 0.0366, 0.0466, 0.0014 และ 0.0335 mg/m2.day ตามลำดับ ส่วนการตกสะสมของสารกรดแบบแห้งพบว่ามีค่าฟลักซ์การตกสะสมเฉลี่ยเท่ากับ 0.0112, 0.0413, 0.0013 และ 0.0411 mg/m2.day ตามลำดับ ทั้งนี้ค่าฟลักซ์การตกสะสมของสารกรดจะแตกต่างกันในแต่ละเดือน ซึ่งมีผลมาจากปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ปัจจัยทางภูมิอากาศ แหล่งปลดปล่อยมลพิษ และกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีววิทยา
คำสำคัญ: การตกสะสมเปียก, การตกสะสมแห้ง, ป่าชีวมณฑลสะแกราช
Abstract
The aim of this study was to investigate the acid deposition over the Sakaerat biosphere forest located at Sakaerat Environmental Research Station in Nakhon Ratchasima Province. The acid deposition composed of wet deposition (acid components in the rain) and dry deposition (acid components in the air). For the wet deposition, the rain samples were collected by bulk method in the open area. For the dry deposition, the tree leaves were collected every 10 day for 6 months from June to November 2012. All samples were analysed using an Ion Chromatography. The average electrical conductivity value of the wet sample was 0.15 mS/m. The pH value of 5.54 indicated a slight acidic condition. The average wet deposition of NO3-, SO42-, HCOO- andCH3COO- was determined to be 0.0366, 0.0466, 0.0014 and 0.0335 mg/m2.day, respectively. The average dry deposition of the aforementioned ion components were found to be 0.0112, 0.0413, 0.0013 and0.0411 mg/m2.day, respectively. The monthly variation of acid deposition could be under some influencing factors such as the climatic conditions, the emission sources and the chemical and biological processes.
Keyworlds: Wet deposition, Dry deposition, Sakaerat biosphere forest