การหาระยะเวลาการได้รับความร้อนและฟลักซ์ความร้อนของไม้พาร์ติเคิลบอร์ดโดยใช้สมการถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อประยุกต์ใช้ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้

Authors

  • ธนวิน ทัตธนนันท์, รัชภาคย์ จิตต์อารี และทศพร บุญยฤทธิ์

Keywords:

ฟลักซ์ความร้อน, ระยะเวลาการเผาไหม้, พาร์ติเคิลบอร์ด, สถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้

Abstract

บทคัดย่อ

  การตรวจสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การหาสาเหตุและระยะเวลาของการเกิดเพลิงไหม้ งานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ความสำคัญไปที่ การเผาไหม้ของไม้พาร์ติเคิลบอร์ดโดยทดสอบด้วยเครื่อง cone calorimeter ในกระบวนการเผาไหม้ ขนาด, มวล, และความหนาแน่นของชิ้นไม้ทดสอบได้ถูกบันทึกไว้ ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ฟลักซ์ความร้อนเป็น 10, 15, 20, 25, 30, และ 40 kW/m2 โดยระยะเวลาการเผาไหม้อยู่ระหว่าง 5 ถึง 60 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดของฟลักซ์ความร้อนที่ใช้ เมื่อการทดสอบเสร็จสิ้นจึงทำการวัดความลึกของการเป็นถ่านและบันทึกผลไว้ ผลการทดลองถูกนำไปวิเคราะห์ทางสถิติและสมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่ได้จากผลการทดลอง คือ

1)  ความลึกของการเป็นถ่าน(mm) = 15.245 + 0.314ระยะเวลาการเผาไหม้(min) + 0.271ฟลักซ์ความร้อน(kW/m2) – 27.457ความหนาแน่น(g/cm3)    * R2 = 0.580

2)  ฟลักซ์ความร้อน(kW/m2) = 4.049 – 0.715ระยะเวลาการเผาไหม้(min) + 1.223ความลึกของการเป็นถ่าน(mm) + 31.710ความหนาแน่น(g/cm3)  * R2 = 0.631

3)  ระยะเวลาการเผาไหม้(min) = -7.759 – 0.881ฟลักซ์ความร้อน(kW/m2) + 1.749ความลึกของการเป็นถ่าน(mm) + 46.698ความหนาแน่น(g/cm3)    * R2 = 0.751

คำสำคัญ: ฟลักซ์ความร้อน ระยะเวลาการเผาไหม้ พาร์ติเคิลบอร์ด สถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้

 

Abstract

  Fire investigation targets mainly include the determination of the cause of fire and the burning time. In this study, the burning of particle board is of particular interest. The wood was burnt in a standard device called a “cone calorimeter”. Parameters recorded in this burning process were size, mass, and density. Test specimens were exposed to a constant heat flux of 10, 15, 20, 25, 30, and 40 kW/m2. The period of exposed time was between 5 to 60 mins depending on the quantity of heat flux used. After the test finished, char depth was measured and the results were recorded. Then the results were statistically analysed and the multiple regression models of the results are found to be:

1)  char depth(mm) = 15.245 + 0.314heating time(min) + 0.271heat flux(kW/m2) – 27.457density(g/cm3)  *   R2 = 0.580

2)  heat flux(kW/m2) = 4.049 - 0.715heating time(min) + 1.223char depth(mm) + 31.710density(g/cm3)  *   R2 = 0.631

3)  heating time(min) = -7.759 - 0.881heat flux(kW/m2) + 1.749char depth(mm) + 46.698density(g/cm3)  *   R2 = 0.751

Key words: heat flux, heating time, particle board, fire scene

Downloads

How to Cite

รัชภาคย์ จิตต์อารี และทศพร บุญยฤทธิ์ ธ. ท. (2015). การหาระยะเวลาการได้รับความร้อนและฟลักซ์ความร้อนของไม้พาร์ติเคิลบอร์ดโดยใช้สมการถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อประยุกต์ใช้ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(2), 59–74. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29435

Issue

Section

Original Articles